ยี่หร่า Tree basil, Clove basil

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum gratissimum L.

วงศ์ LAMIACEAE หรือ LABIATAE

ชื่อท้องถิ่นอื่น กะเพราญวณ (กรุงเทพมหานคร), จันทร์หอม เนียม (เชียงใหม่), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น (แม่ฮ่องสอน), สะหลีดี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หอมป้อม (ภาคเหนือ), โหระพาช้าง กะเพราควาย (ภาคกลาง), หร่า (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง ใบยี่หร่า เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี ดอกยี่หร่า ออกดอกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด ช่อดอกนั้นจัดเป็นแบบ Spike-like raceme ดอกจะบานจากล่างไปหาปลายช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอก ผลยี่หร่า หรือ เมล็ดยี่หร่า มีลักษณะเป็นรูปกลมรี แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว แต่พอสุกหรือแก่แล้วจะกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งผลจะนิยมนำมาตากแห้งหรือนำไปอบแห้ง เพื่อใช้ทำเป็นเครื่องเทศที่ใช้ประกอบอาหารเพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหารน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น และยังช่วยดับกลิ่นคาวได้ดีเหมือนกับใบ

คุณค่าทางโภชนาการ

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่า ในใบยี่หร่า 100 กรัม นั้น มี กากใยอาหาร 26.8 กรัม มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม วิตามินซี 0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม

และธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

เมนูเด็ด

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. 1. กระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาหารอาหารไม่ย่อย บรรเทาอาการปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย กระตุ้นการย่อยอาหารรวมทั้งยังให้เจริญอาหารมากขึ้น
  2. 2. ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย ช่วยขับเหงื่อและของเสียออกจากร่างกาย
  3. 3. ช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดการหดเกร็งของลำไส้ ลดการหดเกร็งของมดลูก บรรเทาอาหารปวดประจำเดือน
  4. 4. ช่วยแก้อาหารคลื่น อาเจียน เบื่ออาหาร
  5. 5. มีส่วนช่วยในการป้องกัน ยับยั้งหรือชะลอการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง
  6. 6. มีฤทธิ์ร้อน ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น

 

ที่มา : https://sukkaphap-d.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%

https://medthai.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B5