มะม่วง
ชื่อไทย มะม่วง
ชื่อท้องถิ่น ตะเคาะซะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) / จ๋องบั่วะ (ม้ง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera indica L.
ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นมากมายจนดูหนาทึบ เปลือกของต้นจะมีสีน้ำตาลมดำ พื้นผิวเปลือกขรุขระ เป็นร่องไปตามแนวยาวขงลำต้น
ลักษณะใบ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก มีสีเขียวเข้ม เป็นไม้ใบเดี่ยวจะออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามก้านใบ ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบมน เนื้อใบค่อนข้างจะหนา
ลักษณะดอก ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีประมาณ 15-20 ดอก ลักษณะของดอกเป็นสีเหลืองอ่อน หรือสีนวลๆ เป็นดอกที่มีขนาดเล็ก
ลักษณะผล เมื่อดอกโรยก็จะติดผล มีลักษณะต่างกันแล้วแต่ละพันธุ์เช่นบางทีมีเป็นรูปมนรี ยาวรี หรือเป็นรูปกลมป้อม ผลอ่อนมีเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด ภายในผลมีเมล็ด ผลหนึ่งมีเมล็ดเดียว
ระยะการออกดอกติดผล
ออกดอกเดือนธันวาคม – เดือนกุมภาพันธ์ ติดผลหลังออกดอก
เขตการกระจายพันธุ์
มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บอเนียวนิวกีนี หมู่เกาะโซโลมอน และเกาะแคโลไล
การใช้ประโยชน์
ผล : รับประทานได้
เปลือกลำต้น : ใช้เปลือกลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้โรคคอตีบ แก้เยื่อปากอักเสบ เยื่อเมือกในจมูกอักเสบหรือใช้สวนล้างช่องคลอดแก้อาการตกขาว
ใบ : ใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้อืดแน่น หรือใช้ใบสดบดให้ละเอียดพอกบริเวณแผลสดหรือใช้ล้างบาดแผล
ผล : ใช้ผลสด นำมากินเป็นยาแก้คลื่นไส้ อาเจียนวิงเวียน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้บิดถ่ายเป็นเลือดและใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร
เมล็ด : ใช้เมล็ดสดประมาณ 2-3 เม็ด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ท้องร่วง แก้บิดเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร ตกขาว ตกเลือด ท้องอืด แก้คลื่นไส้ และแก้ไอ
แหล่งข้อมูล : อุทยานหลวงราชพฤกษ์