เมื่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์พุ่งสูงเกิน 400 PPM (ซึ่งหากจะอยู่กันแบบสบายๆไม่ควรเกิน 350 PPM) เมื่อวิกฤตโลกร้อน นำไปสู่วิกฤตแห่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนเราต้องเผชิญกับผลกระทบที่ไม่อาจหลบเลี่ยงได้ มาถึงวันนี้เราอาจพูดกันได้อย่างไม่ต้องเกรงใจใครเลยว่า เราทุกคนต้องลุกขึ้นเตรียมรับ ปรับตัว เพื่อรับมือกับวิกฤตโลกร้อนในครั้งนี้ วันนี้เรามีวิธีการเตรียมรับ ปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤตในครั้งนี้มาแบ่งปันกัน
- ปรับทัศนคติ อย่ารอเวลาที่จะตกเป็นเหยื่อถึง 2 ครั้ง
อ.ธนวันต์ นายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเคยกล่าวไว้ว่า เมื่อวิกฤตโลกร้อนรุนแรงไปจนถึงขั้นภัยพิบัติแล้วนั้นคือสายเกินไป อย่าปล่อยให้ตนเองตกเป็นเหยื่อถึง 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 คือ การตกเป็นเหยื่อของผลกระทบจากภัยพิบัติโดยตรง (Primary impact) เป็นความกังวลเมื่อภัยมาถึงตัว เช่น น้ำท่วม ดินถล่มฉับพลัน ไม่ทันได้เตรียมตัว และการตกเป็นเหยื่อครั้งที่ 2 คือ ผลกระทบที่ตามมา (Secondary Impact) คือ ความเครียด วิตกกังวลที่เกิดจากการขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าและยารักษาโรค เนื่องจากขาดการเตรียมตัว ฉะนั้นควรตั้งสติอย่าตื่นตระหนกเกินเหตุ จากนั้นเตรียมตัวให้พร้อมเสมอพร้อมรับสิ่งต่างๆที่จะตามมา - อย่ารอคอยถุงยังชีพ จงสร้างถุงยังชีพให้กับตัวเอง
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อเกิดวิกฤตจะมีคนรุดด่วนมามอบถุงยังชีพให้เราได้ทันเวลา อาจจะช้าเกินไปเมื่อถึงเวลานั้น เราควรจะตระเตรียมให้พร้อม ทำลิสต์รายการสิ่งที่จำเป็นสำหรับตัวเองและครอบครัว ซึ่งรายการที่จำเป็นจริงๆนอกจากอาหารแห้ง เช่น ที่จุดไฟ,ยา,แว่นสำรอง(สำหรับคนมีปัญหาด้านสายตา) ฯลฯ อาจจะแยกสัมภาระสำหรับพ่อ แม่ ลูก ห้อยไว้ในที่พร้อมจะหยิบใช้เมื่อภัยมา - เรียนรู้ว่าเมื่อขาดแคลนน้ำในภาวะวิกฤตเราจะต้องทำอย่างไร ?
ในกรณีเกิดวิกฤตโลกร้อนและมีภัยพิบัติมาถึง สิ่งที่มักเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ คือ การขาดแคลนน้ำดื่ม ฉะนั้นการเรียนรู้ที่จะสร้างเครื่องกรองน้ำอย่างง่าย หรือ การแสวงหาน้ำโดยวิธีธรรมชาติ เราจะสามารถมีน้ำดื่มเพื่อยังชีพรับวิกฤตโลกร้อนได้ - เรียนรู้ที่จะยังชีพหรือเอาตัวรอดในการผลิตอาหารด้วยตนเอง
การพึ่งพาตนเองด้านอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เราต้องเรียนรู้ เราควรศึกษาวิธีปลูกผักทานเองแบบง่ายๆ สามารถใช้เศษวัสดุนำมาช่วยในการเพาะปลูก และเรียนรู้ว่าพืชชนิดใดที่สามารถนำมาปลูกและรับประทานได้ในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ผักบุ้งงอก,ถั่วงอก หรือต้นอ่อนทานตะวัน แม้กระทั้งการทำอุปกรณ์ดกปลา หรือ การถนอมอาหารแบบคนโบราณ การติดไฟในกรณีไม่มีไฟแช๊ค สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะการอยู่รอกที่เราต้องเรียนรู้เพื่อรับมือกับวิกฤตโลกร้อน - เรียนรู้ว่าพืชชนิดใดที่กินได้และเป็นสมุนไพร
พืชรอบตัวถ้าเราได้ทำความรู้จักหรือสังเกตว่าชนิดใดกินได้ ชนิดไหนที่สามารถใช้เป็นสมุนไพรรักษาอาการต่างๆได้ ย่อมจะเป็นการดีที่เราสามารถใช้พืชเหล่านี้ในการช่วยให้ชีวิตเรารอดได้เมื่อภัยมา - เรียนรู้ที่จะเตรียมอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอย่างง่าย
บางครั้งเมื่อยามภัยพิบัติมาถึงตัวเราอาจจะคว้าโทรศัพท์มือถือไปได้ถือเป็นโชคดี แต่แล้วโชคร้ายก็ตามมาอย่างรวดเร็วเพราะโทรศัพท์แบ๊ตหมด แต่หากว่าเรามีอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอย่ายง่ายๆ เช่น เครื่องปั่นไฟ หรือ solar cell ชุดเล็กๆติดตัวไว้เมื่อยามภัยมาจะเป็นสิ่งที่มีค่ามากๆ คือ อย่างน้อยก็ยังพอมีพลังงานสำรองให้เราไว้ชาร์ทแบ๊ตมือถือไว้ใช้ติดต่อในยามจำเป็นได้ - เรียนรู้ที่จะทำเครื่องอุปโภค บริโภคแบบง่ายๆไว้ใช้เอง
สบู่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า เคยรู้ไหมว่าทำอย่างไร ? ลองไปศึกษาวิธีการทำแบบง่ายๆใช้วัสดุจากธรรมชาติรอบตัว เผื่อยามเวลาขาดแคลนเราจะสามารถผลิตไว้ใช้เองได้ - เรียนรู้ที่จะสร้างที่พักอาศัยง่ายๆไว้พักพิงยามเดือดร้อน
การสร้างที่พักง่ายๆโดยใช้วัสดุที่หาได้รอบตัว คือ สิ่งจำเป็นเมื่อเกิดภัยพิบัติ อย่างน้อยเราสามารถทำที่พักที่สามารถกันแดดและกันฝนได้ ซึ่งทักษะจำเป็นที่เกี่ยวข้องอย่างหนึ่ง คือ การผูกเงื่อนเชือกในแบบต่างๆ , การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม เช่น ไม้ไผ่,ดินเหนียว รวมถึงโครงสร้างในรูปแบบต่างๆ - เรียนรู้ที่จะจัดเตรียมเครื่องนุ่งหุ่มให้พร้อมเสมอ
ในถุงยังชีพอย่าลืมที่จะจัดเตรียมเสื้อผ้า โดยเฉพาะเสื้อกันหนาว และเครื่องนุ่มห่มที่จำเป็น เรียนรู้ว่าเครื่องนุ่งห่มชนิดไหนที่ระบายความร้อนได้ดี หรือ ชนิดใดที่เก็บกักความร้อนได้ดี เพื่อจะได้เตรียมรับกับสภาพอากาศที่แปรปรวนได้ - เรียนรู้ที่จะใช้วิธีการสื่อสารเพื่อใช้ติดต่อคนมาช่วยเหลือในยามภัยมา
เมื่อถึงเวลาที่ต้องการขอความช่วยเหลือในยามมีภัย เราต้องเตรียมการเรียนรู้เรื่องการสื่อสารในแบบที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การใช้นกหวีดหรือการใช้กระจกสะท้อนแสง วิธีการส่งรหัสในแบบต่างๆที่เป็นสากล สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราได้รับการช่วยเหลือได้เมื่อยามมีภัย
การเรียนรู้ 10 เรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือกับวิกฤตโลกร้อน ย้ำอีกครั้งว่าโปรดอย่าตระหนกตกใจเกินไป เราสามารถลดความตระหนกด้วยการตั้งสติ เตรียมตัวให้พร้อมในทุกๆด้าน
**ขอบคุณแนวคิดดีๆที่รวบรวมจาก ผศ.ดร.ธนวันต์ สินธุนาวา นายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
???สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีหลักสูตรพร้อมรับการเตรียมรับ ปรับตัว เพื่อรับมือกับวิกฤตโลกร้อน หากหน่วยงานใดสนใจสามารถดูตัวอย่างกิจกรรมที่เราเคยจัดตามลิงค์ด้านล่าง และหากอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ?มือถือ: 096 – 6421093 ,โทร : 02-408-1600 ถึง 03