มะนาวด่าง
ชื่อไทย มะนาวด่าง ( Manao dang)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus sp.
ชื่อวงศ์ RUTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มยืนต้น ที่มีขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ เปลือกของลำต้นมีหนามแหลมแข็ง มักเกิดตามบริเวณซอกใบ
ลักษณะใบ ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายรูปไข่หรือค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแผ่นใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร ก้านใบสั้น ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อนแกมด่างขาว
ลักษณะดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยว หรือดอกช่อ เกิดบริเวณซอกใบ กลีบดอกด้านบนมีสีขาว ส่วนด้านล่างมีสีม่วง
ลักษณะผล ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลม และมีขนาดต่าง ๆ กัน แล้วแต่ความอุดมทสมบูรณ์ของพื้นที่ปลูก และชนิดพันธุ์ ผิวของผลมีทั้งเรียบและขรุขระเล็กน้อย มีสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะมีสีค่อนข้างเหลือง มีต่อมน้ำมันที่ผิวในผล 1 ผล มี 8-10 กลีบ เนื้อของผลประกอบด้วยถุงเล็ก ๆ รูปไข่มากมาย มีน้ำและกรดจำนวนมาก มะนาวจึงมีรสเปรี้ยว ผลด่าง มีสีเขียวแกมขาว
ลักษณะเมล็ด ลักษณะเมล็ดคล้ายรูปไข่ ส่วนหัวและท้ายแหลม มีเนื้อเยื่อสะสมอาหารเป็นสีขาว เมล็ด 1 เมล็ด สามารถเพาะได้หลายต้น
ระยะการออกดอกติดผล
–
เขตการกระจายพันธุ์
เอเชีย ออสเตรเลีย
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ – นิยมปลูกเป็นพืชประดับ
แหล่งข้อมูล : อุทยานหลวงราชพฤกษ์