ชื่อไทย                         แคบ้าน

ชื่อท้องถิ่น                 แค(กลาง) แคแดง (กทม. เชียงใหม่) แคบ้านดอกแดง (กลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์          Sesbania grandiflora (L.) Pers.

ชื่อวงศ์                     FABACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป  ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ไม้เนื้ออ่อน กิ่งก้านเปราะหักง่าย แตกกิ่งก้านสาขามากและไม่เป็นระเบียบ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา มีเปลือกหนาและมีรอยขรุขระที่แตกเป็นสะเก็ด

ลักษณะใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ สีเขียว ใบย่อยมีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบ ปลายใบมน กว้าง 1.0-1.5 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร

ลักษณะดอก ออกเป็นช่อบริเวณซอกใบ ช่อละ 2-4 ดอก รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีขาวหรือสีแดง

ลักษณะผล เป็นฝักกลมยาว 30-50 เซนติเมตร ฝักแก่จะแตกเป็นออกเป็น 2 ซีก

ลักษณะเมล็ด ลักษณะเมล็ดกลมแป้นมีหลายเมล็ดและมีสีน้ำตาล

ระยะการออกดอกติดผล

เขตการกระจายพันธุ์  

ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาใต้

การใช้ประโยชน์        

เปลือกต้น แก้โรคบิดมีตัว แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ ใช้ชะล้างบาดแผล

ใบสด เป็นยาระบาย แก้ช้ำชอก

ยอดอ่อน แก้ไข้หัวลม เป็นยาระบาย ช่วยถอนพิษไข้และทาแก้ช้ำบวม

ดอก แก้ไข้หัวลมรักษาโรคริดสีดวงในจมูกแก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้

ราก เป็นยาขับเสมหะ ลดอาการอักเสบ

แหล่งข้อมูล: อุทยานหลวงราชพฤกษ์