คำถามคือจุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงและพลังของคำถามที่ดีย่อมจะนำไปสู่หนทางที่ดีเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นล้วนแล้วแต่เกิดจากการตั้งคำถาม วันนี้เรามีตัวอย่างการตั้งคำถามของนักสิ่งแวดล้อมหรือนักอนุรักษ์ที่น่าสนใจมาแบ่งปันกัน
- ราเชล คาร์สัน เริ่มตั้งคำถามกับสิ่งรอบต่อที่ผิดปกติ รังนกที่มีแต่ไข่แต่ไร้ซึ่งการฟักตัวออกมา ปลาตายลอยเป็นแพลอยเกลื่อนอยู่เต็มแม่น้ำ จึงมีการรวบรวมข้อเท็จจริงและนำเสนอผ่านงานเขียนหนังสือเชิงสารคดี Sirent Spring หรือชื่อไทยว่า ฤดูใบไม่ผลิอันเงียบงัน ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของรัฐบาล และหนังสือเล่มนี้ช่วยจุดประกายเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดกระบวนการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่
- ในปี 1972 กลุ่มหัวกะทิ นักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักอุตสาหกรรม นักการศึกษา และอื่นๆอีกมากมายกว่า 10 ประเทศรวมตัวกันในนาม Club of Rome ตั้งคำถามกับเรื่องของการเติบโตของประชากรโลกจะมีผลกระทบอะไรบ้างกับโลกอันมีขีดจำกัดของเรา โดยใช้โมเดลคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในตอนนั้น โดยลากเส้นการเติบโตของประชากรตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สองพบว่าหากยังมีการเติบโตของประชากรในอัตราพุ่งเร็วขนาดนี้ โลกจะเข้าสู่ภาวะล่มสลายในช่วงปี 2050 – 2070 ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมออกมาเป็นหนังสือที่ชื่อว่า “The Limits to Growth” (ขีดจำกัดของการเติบโต) หนังสือเล่มนี้ติดอันดับหนังสือขายดีอย่างรวดเร็ว ถูกแปลเผยแพร่กว่า 30 ภาษา และขายได้ถึง 30 ล้านเล่มทั่วโลก
- เกรตา ทุนเบิร์ก เด็กสาวอายุ 16 ปีชาวสวีดิช เมื่อเธอได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับโลกร้อนครั้งแรกเมื่ออายุ 8 ขวบเธอก็เริ่มตั้งคำถามว่า เราจะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นในอย่างไร? เด็กน้อยผมเปียหน้าตาขึงขังจริงจังไม่ได้เพียงแต่คิดแต่เธอลุกขึ้นทำทันทีแบบไม่รีรอ เหตุเพราะกลัวคำถามจากลูกหลานในตอนที่เธออายุ 75 ว่าในอดีตทำไมไม่ลงมือแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม จนเกิดเคมเปญ “โดดเรียนเพื่อโลก” กลายเป็นกระแสให้ผู้คนหันมาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกครั้ง เธอเป็นตัวแทนคนตัวเล็กที่ทำเรื่องยิ่งใหญ่ได้เป็นอย่างดี
- อัลกอร์ อดีตรองประธานนาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา กับการตั้งคำถามเรื่องเกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อนและออกหาคำตอบด้วยตัวเองด้วยการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆทั่วโลกเพื่อเก็บข้อมูลสำคัญนำออกมาเสนอในรูปแบบการบรรยายและเดินทางออกให้ความความรู้ไปยังที่ต่างๆ จนมีการจัดทำออกมาเป็นสารคดีดีกรีรางวัลออสการ์ที่มีชื่อว่า เรื่องจริงช็อคโลก (An Inconvenient Truth) ตีแผ่ความจริงเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน กระตุ้นความสนใจให้ชาวโลกหันกลับมาให้ความสำคัญร่วมช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน
- สืบ นาคะเสถียร อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นักอนุรักษ์ผู้ใช้ชีวิตของตนแลกเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติให้คงอยู่กับเราตราบเท่าทุกวันนี้ กับการตั้งคำถามสำคัญเกี่ยวกับการคงอยู่ของป่า ทุ่งเทแรงกายและใจจนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก ชีวิตและผลงานของสืบ นาคะเสถียรกลายเป็นแรงบันดาลใจและกระตันให้นักอนุรักษ์รุ่นใหม่ได้เจริญรอยตามตลอดจนนำแนวคิดต่างๆมาใช้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้คงอยู่ต่อไป
และนี้คือพลังของการตั้งคำถามที่จะนำไปสู่แนวทางที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ ถึงตาคุณแล้วที่จะตั้งคำถามอันจะนำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้
ถ้าอยากเห็นสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น คุณจะถามว่าอะไร ?
ขอบคุณข้อมูลจาก
- http://www.csrcom.com/news/view/355
- https://thepeople.co/greta-thunberg-fridays-for-future/
- https://th.wikipedia.org/wiki/อัล_กอร์
- https://th.wikipedia.org/wiki/สืบ_นาคะเสถียร
ภาพจาก https://pixabay.com/