ชื่อไทย พิกุล (Bellet wood, Spanish cherry)
ชื่อท้องถิ่น แก้ว (เลย ภาคเหนือ) ซางดง (ลำปาง) พิกุลป่า พิกุลเถื่อน พิกุลเขา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi L.
วงศ์ SAPOTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10 – 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปเจดีย์เมื่อต้นยังเล็ก โตขึ้นเรือนยอดกลม แผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามแนวยาว
ลักษณะใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบย่อยรูปรี หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2 – 6.5 เซนติเมตร ยาว 7.5 – 15 เซนติเมตร โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่นและห่อขึ้น ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวสด เรียบเป็นมัน
ลักษณะดอก ดอกเดี่ยว ออกรวมกันเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.8 – 1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 8 กลีบเรียงซ้อนกันสองชั้น ชั้นละ 4 กลีบ กลีบดอกประมาณ 24 กลีบ เรียงซ้อนเป็นสองชั้น โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อย เมื่อใกล้โรยเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง ดอกมีกลิ่นหอม
ลักษณะผล ผลเดี่ยว แบบผลสดมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปไข่ กว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 – 3 เซนติเมตร ปลายแหลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดง หรือสีแดงอมส้ม เนื้อในสีเหลือง เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม หรือดำเป็นมัน แบน รี เปลือกแข็ง
ระยะการออกดอกติดผล
ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี
เขตการกระจายพันธุ์
มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย พม่า มาเลเซีย ในประเทศไทยพบตามป่าดงดิบทางภาคใต้และภาคตะวันออก
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้: ใช้ในการก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องดนตรี
ใบ: ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อกามโรค ทำบุหรี่ รักษาโรคหืด
ดอก: เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ผล: ผลสุกรับประทานได้ มีสรรพคุณแก้ท้องเสีย
เมล็ด: บดละเอียดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
แหล่งข้อมูล: สำนักงานหอพรรณไม้ – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0017″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นพิกุล”]