ชื่อไทย                  มะกรูด (Leech lime, Makrut lime, Mauritius papeda)

ชื่อท้องถิ่น             มะขูด มะขุน (ภาคเหนือ) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) มะหูด (หนองคาย)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Citrus hystrix DC.

วงศ์                          RUTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์         

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดเล็ก สูง 2 – 8 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง  เปลือกนอกสีน้ำตาล เรียบ

ลักษณะใบ ใบประกอบชนิดลดรูป เรียงสลับ มีใบย่อย 1 ใบ รูปไข่กว้าง 2.5 – 7 เซนติเมตร ยาว 4 – 7 เซนติเมตร ผิวใบเรียบเป็นมัน ใบมีสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา มีต่อมน้ำมัน กลิ่นหอม ก้านใบแผ่เป็นแผ่นใบขนาดใหญ่เท่ากับแผ่นใบ

ลักษณะดอก ดอกเดี่ยว หรือช่อดอกแบบกระจุก ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอก 4 – 8 กลีบ กลีบดอกรูปรี ร่วงง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 – 2 เซนติเมตร

ลักษณะผล ผลแบบส้ม รูปร่างค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – 7 เซนติเมตร ผิวขรุขระ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกมีสีเหลือง

ระยะการออกดอกติดผล

ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี

เขตการกระจายพันธุ์

พบปลูกเลี้ยงทั่วไป

การใช้ประโยชน์           

ราก: แก้พิษฝีภายใน เสมหะ ปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาแก้ลมจุก เสียด ไข้กำเดา ถอนพิษผิดสำแดง

ใบ: ใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อดับกลิ่นคาวของอาหาร

ผล: มีรสเปรี้ยวใช้เพิ่มรสชาติอาหาร เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ น้ำลายเหนียว กัดเถาด้านในท้อง แกระดูเสีย ฟอกโลหิต และขับผายลม แก้ปวดท้องในเด็ก สระผม ขจัดรังแค ช่วยให้ผมดกดำ

แหล่งข้อมูล: โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง

[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0018″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นมะกรูด”]