ชื่อไทย ศรีตรัง (Brazilian rose wood, Green ebony)
ชื่อท้องถิ่น แคฝอย (กรุงเทพมหานคร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jacaranda obtusifolia Bonpl.
วงศ์ BIGNONIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดกลาง สูง 10 – 12 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง รูปทรงไม่แน่น เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อนปนเทา แตกหลุดล่อนเป็นแผ่นบางๆ
ลักษณะใบ ใบประกอบขนนกสองชั้น ปลายใบคี่ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อย รูปขอบขนานแกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขนาดเล็ก เรียงตรงข้าม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ ปลายใบเป็นแหลม แผ่นใบบางสีเขียวอ่อน
ลักษณะดอก ช่อกระจุกแยกแขนงขนาดใหญ่ ออกที่ซอกใบ ตามกิ่งและปลายยอด ดอกย่อยสีม่วง รูประฆังจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2 – 4เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อัน ดอกทยอยบาน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ลักษณะผล ผลแห้งแก่แล้วแตกสองแนว ฝักรูปรีค่อนข้างแบน กว้าง 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 2 – 2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวสด เมื่อสุกมีสีเขียวอมน้ำตาล เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็ดจำนวนมาก แบน มีปีก
ระยะการออกดอกติดผล
ออกดอกเดือนธันวาคม – เดือนมีนาคม ติดผลเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม
เขตการกระจายพันธุ์
มีถิ่นกำเนิดมาจากทางตอนเหนือของอเมริกาใต้ บราซิลและเวเนซุเอลา พบปลูกเลี้ยงมากทางภาคเหนือและภาคใต้
การใช้ประโยชน์
เนื่องจากมีลักษณะต้นและให้ดอกที่สวยงามจึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ
แหล่งข้อมูล: สำนักงานหอพรรณไม้ – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0028″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นศรีตรัง”]