อนุรักษ์พลังงานด้วยร่มเงาจากพรรณพืช

อนุรักษ์พลังงานด้วยร่วเงาจากพรรณพืช

ท่ามกลางภาวะวิกฤตทั้งพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและเศรษฐกิจที่ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องเร่งปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ทรัพยากรเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตได้โดยไม่ต้องเผชิญความยากลำบากมากนัก

หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่งรวมทั้งอาสาสมัครหลายกลุ่มต่างเร่งรีบทำกิจกรรมหลากหลายเพื่อสร้างความเข้าใจสร้างจิตสำนึกและกระแสการตื่นตัวแก่ผู้บริโภค ในการมีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้วยการช่วยกันลดค่าใช้จ่ายในการบริโภคหรือลดการบริโภค โดยเฉพาะลดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานซึ่งจะส่งผลถึงการลดผลกรทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยหนดทางดังกล่าวจะทำให้ผู้บริโภคใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ผลการศึกษาและวิจัยยืนยันสอดคล้องกันชัดเจนว่า “การปลูกต้นไม้ในเขตเมืองมีส่วนช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องปรับอากาศได้อย่างมากนอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยฟอกอากาศ ลดความดังของเสียงในเขตเมืองและลดความเร็วของลดด้วย”

ดังนั้นเพื่อให้ทุกฝ่ายได้เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา การเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากร่มเงา พรรณพืชในลักษณะต่าง ๆ จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการตัดสินใจและกำหนดกิจกรรมลดการใช้พลังงานและเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเขตที่อยู่อาศัยและในเขตเมืองได้

ต้นไม้ช่วยอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไร

คนส่วนใหญ่ตระหนักในคุณค่าทางด้านจิตใจ  และสิ่งแวดล้อมของต้นไม้เป็นอย่างดี  แต่บทบาทสำคัญและมีคุณค่าของต้นไม้ในการอนุรักษ์พลังงานยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างกว้างขวางนัก  หลายคนอาจไม่ทราบว่า

หากมีการเลือกพรรณไม้และสถานที่ปลูกที่เหมาะสม จะมีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำความเย็นให้แก่อาคารได้เป็นอย่างมาก  และในช่วงฤดูร้อนยังช่วยสกัดกั้นความร้อนจากดวงอาทิตย์มิให้มาถึงผนักอาคารเป็นการป้องกันมิให้มีการดูดซับความร้อนจากผนังอาคารได้อย่างมาก

ผนังอาคารที่อยู่ใต้ร่มเงาต้นไม้จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าผนังอาคารที่ได้รับแสงแดดถึง 8 องศาเซลเซียส เครื่องปรับอากาศในบ้านที่ได้รับร่มเงาต้นไม้จะทำงานเบากว่า มีประสิทธิภาพมากกว่าและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเครื่องที่ไม่ได้รับร่มเงาต้นไม้

“ต้นไม้รอบอาคารนอกจากจะช่วยผลิตออกซิเจนที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของบ้านแล้ว ยังคายน้ำและดูดซับความร้อนในอากาศโดยรอบช่วยทำให้อากาศรอบบ้านเย็น ส่งผลให้อุณหภูมิภายในบ้านลดลงและเย็นสบายต่อผู้อยู่อาศัยอีกด้วย”

พื้นผิดคอนกรีตหรือวัสดก่อสร้างอื่น ๆ นอกอาคารเช่น รองเท้า ทางรถและระเบียบสะสมความร้อนและสะท้อนแสงทำให้แสงเข้าตา  ร่มเงาของต้นไม้บนพื้นผิวเหล่านี้ ช่วยลดการสะสมความร้อน  การสะท้อนของแสงและการรับแสงทางอ้อมจากพื้นผิดที่ได้รับแสงโดยตรง

ปลูกต้อนไม้ที่ไหนเหมาะสมที่สุด

ต้นไม้ช่วยปรับอกาศด้วยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยก๊าซออกซิเจนที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์ การเลือกสถานที่ปลูกต้อนไม้จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปรับอกาศของเครื่องปรับอกาศของอาคารได้

การเลือกสถานที่ปลูกต้นไม้ให้เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์พลังงานและลดค่าใช้จ่ายในการใช้อาคารจะต้องพิจารณา

  1. ทิศทางการหันตัวอาคารรับทิศต่าง ๆ

โดยพิจารณาลักษณะการใช้อาคารประกอบด้วย เช่น สำนักงานที่มีการใช้งานตลอดทั้งวัด ห้องนอนที่จะมีการใช้เฉพาะในเวลากลางคืน เป็นต้น ซึ่งส่วนของอาคารที่ได้รับแสงแดดติดต่อกันหลายชั่วโมงจะมีการสะสมความร้อน และถ่ายเทความร้อนให้แก่พื้นที่ใช้สอยในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร

  1. แนวการเดินทางของดวงอาทิตย์ตลอดปี

ที่จะทำให้เกิดการทอดร่มเงาในลักษณะต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับอาคาร การพิจารณาในส่วนนี้มีความจำเป็นมาก เมื่อมีการเลือกสถานที่ปลูกต้นไม้

  1. ควรเลือกปลูกต้นไม้ ที่จะให้ร่มเงาตกทอดบนหลักคาและผนัง

โดยเฉพาะผนังทางทิศใต้ ตะวันออก และตะวันตก จะช่วยลดการดูดซับความร้อนของวัสดุต่าง ๆ ของอาคารได้

  1. พื้นที่ที่มีอากาศหนาว โดยเฉพาะทางตอนเหนือ

ควรเลือกปลูกต้นไม้ ที่จะทอดบนหลังคา และผนังด้านตะวันออกและตะวันตก โดยเปิดให้ส่วนของอาคารด้านทิศใต้ได้รับแสงแดด และความอบอุ่นในฤดูหนาว

  1. ผนังด้านทิศตะวันออก และวันตกของอาคาร จะได้รับแสงแดดมากที่สุด ดังนั้นผนังสองด้านนี้ จึงควรได้รับการปกป้องความร้อนจากดวงอาทิตย์ โดยร่มเงาต้นไม้

“ต้นไม้ที่จะให้ร่มเงาแก่หลังคา และช่วยลดการถ่ายเทความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้าสู่พื้นที่ใช้สอยของอาคารจะต้องมีทรงกลมหรือแผ่กว้างและมีความสูง 7-15 เมตร ปลูกห่างจากอาคาร 5-10 เมตร กรณีที่เลือกพรรณไม้ที่มีขนาดความสูง 3-5 เมตร ระยะปลูกห่างจากอาคาร 3-5 เมตร”

การเลือกพรรณไม้

“พรรณไม้ที่ปลูกเพื่อลดการดูดซับความร้อนของอาคาร ลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร และลดการใช้พลังงานภายในอาคาร เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่ปลูกใกล้อาคาร จึงต้องพิจารณาลักษณะของพรรณไม้ ที่สามารถให้ร่มเงาโดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคาร และไม่เป็นภาระในการบำรุงดูและของเจ้าของอาคารมากเกินไป”

การเลือกพรรณไม้จึงควรพิจารณารายละเอียดดังนี้

  1. พรรณไม้ที่มีรากแข็งแรง ไม่แผ่ขยายออกทางด้านข้างมากนัก มีรกแก้วที่แทงลึกในแนวดิ่ง และช่วยเกาะยึดดินเพิ่มความมั่นคงแข็งแรง โดยสามารถใช้ประโยชน์น้ำใต้ดินได้ดี ทนแล้งได้
  2. มีลำต้นและกิ่งก้านไม่มีหนามแหลมคม หรือมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่อาจเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายของคนและสัตว์เลี้ยง
  3. มีอายุยืนยาน ไม่ต้องปลูกซ่อมบ่อยครั้ง
  4. เป็นพรรณไม้ท้องถิ่น ที่จะทนต่อการแพร่ระบาดของโรคและศัตรูพืชได้ดี
  5. มีลำต้นและกิ่งก้านแข็งแรง ทนแรงปะทะของลมและฝนได้ดี
  6. เป็นพรรณไม้ที่ไม่ผลัดใบ จะให้ร่มเงาตลอดทั้งปี พรรณไม้ประเภทปาล์มจะมีใบใหญ่ ถ้ามีการผลัดใบจะดูแลได้ง่ายกว่างพันธุ์พืชอื่น
  7. กรณีเป็นพรรณไม้ประเภทผลัดใบควรเลือกชนิดที่ผลัดใบไม่มาก พันธุ์ไม้ที่ผลัดใบและมีใบร่วงมากเมื่อนำมาปลูกจะมีภาระในการทำความสะอาดบริเวณรอบอาคารและถ้ามีสระน้ำอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการเน่าเสียของน้ำได้
  8. ควรหลีกเลี่ยงพรรณไม้ที่มีรากลอย จะทำให้พื้นที่รอบอาคารไม่สม่ำเสมอและอาจทำให้พื้นผิวทางเข้าถูกดันนูนขึ้นหรือแตกร้าวได้พรรณไม้ประเภทนี้ เช่น “ไทรยางอินเดีย ทองหลางลาย ชมพูพันธ์ทิพย์ เป็นต้น”
  9. พรรณไม้ที่มีรากแผ่ขยายมาก จะมีพุ่มใบแผ่ปกคลุมมากตามได้ด้วยจะได้ร่มเงาดี ถ้าปลูกใกล้อาคาร แต่จะต้องระมัดระวังการแทรกและชอนไชของรากเข้าสู่สิ่งปลูกสร้างได้แก่ ตัวอาคาร รั้ว ทางระบายน้ำ ทางเข้า ทางรถ ลานจอดรถ ทำให้เกิดความเสียหายได้
  10. ไม่ควรเลือกพรรณไม้โตเร็วที่มีกิ่งก้านเปราะฉีกและหักง่าย ในช่วงฤดูที่มีพายุและฝนมาก อาจทำให้กิ่งหรือลำต้นฉีกหัด หรือโค่นล้มและเป็นอันตรายต่อคน อาคาร และยานพาหนะได้ พันธุ์ไม้ประเภทนี้ ได้แก่ “ทองหลาง ประดู่กิ่งอ่อน จามจุรี” เป็นต้น

ข้อควรระวังในการพิจารณาปลูกพรรณไม้

เพื่อเป็นร่มเงาให้แก่อาคารและบริเวณโดยรอบอาคาร เจ้าของอาคารหรือผู้ใช้อาคารจะต้องไม่ปลูกพรรณไม้ที่มีขนาดและทรงพุ่มใหญ่ใกล้ตัวอาคาร เนื่องจากการเจริญเติบโตของพรรณไม้ อาจทำความเสียให้แก่ตัวอาคาร หรือส่วนประกอบของอาคาร เช่น ผนัง หน้าต่าง กระจก รางน้ำฝน กันสาด เป็นต้น

ด้วยแรงลมและการโยกของลำต้น และกิ่งของต้นไม้ จะทำความเสียหายระดับต่ำตั้งแต่พื้นผิว สี และการหันเหไปจนถึงความเสียหายระดับสูง เช่น การแตกของกระจกประตู หน้าต่าง การหลุด ชำรุดเสียหายของรางน้ำฝน และท่อน้ำฝนจากหลังคา การหลุดหรือเสียหายของกันสาด และอื่น ๆ

ดังนั้น การเลือกปลูกไม้ร่มเงาแต่ละชนิด จะต้องทราบทั้งรูปทรง ทรงพุ่มและขนาดพรรณไม้เพื่อให้การปลูกสามารถสนองความต้องการ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน และไม่เป็นภาระในการบำรุงดูแล รวมทั้งไม่ทำให้เกิดความเสียหายใด  ๆ ตามมา เมื่อพรรณไม้มีการเติบโตระยะต่าง ๆ

นอกจากนี้ การปลูกต้นไม้ ยังจะต้องเลือกทำเลสถานที่ปลูกที่จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายใด ๆ ต่อ “สายไฟฟ้า” ที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกที่ที่อาคารตั้งอยู่ เนื่องจากจะเป็นภาระในการตัดแต่ง ทั้งโดยเจ้าของหรือผู้ใช้อาคารและโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการตัดแต่งถ้าขาดความเข้าใจและขาดความระมัดระวังอาจได้รับอันตรายได้

สำหรับความเสียหายอื่น ๆ ที่อาจมองไม่เห็นได้โดยง่าย คือ “ท่อน้ำประปา และเครือข่ายการจ่ายน้ำ” โดยรอบอาคาร รวมทั้งท่อระบายน้ำทิ้งชนิดฝังดินและชนิดเปิด โดยเฉพาะชนิดฝังดินซึ่งท่อน้ำทั้งสองชนิดอาจได้รับอันตรายจากการเดินของราก การโค่นล้ม การหัก และตกของกิ่งขนาดใหญ่จะเป็นอันตรายและทำให้เกิดความเสียหายได้

เวลาที่เหมาะสมในการปลูกพรรณไม้

การปลูกพรรณไม้เพื่อประโยชน์ ในการลดการดูดซับและถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร จะต้องพิจารณาพรรณไม้ยืนต้นขนาดต่าง ๆ กัน และถ้าได้จาก “พรรณไม้ที่มีการเพาะเมล็ดจะมีความแข็งแรงและมั่นคงในการยืนต้นตอบสนองความต้องการในการปลูกได้มากและยาวนานกว่าการเลือกพรรณไม้ที่ได้จากการตัดชำ ตอน หรือวิถีอื่น ๆ ที่จะทำให้พืชไม่มีโอกาสได้สร้างรากแก้ไว้เกาะยึดพื้นดินอย่างดีพอ”

นอกจากนี้ขนาดและลักษณะการเติบโตของรากแก้วยังช่วยให้พืชมีความแข็งแรง เลี้ยงตัวเองได้ด้วยน้ำที่อยู่ลึกจากผิวดินและช่วยลดความเสียหายจากภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำได้ดี

ฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่การปลูกต้นไม้มีความยากลำบากกว่าช่วงฤดูอื่น  เนื่องจากผู้ปลูกจะมีภาระในการดูและค่อนข้างมากทั้งการระวังการสูญเสียน้ำ แรงลม การรับแสงแดดมากติดต่อกัน และการเติบโตและแผ่ขยายของรากอ่อนที่จะมีข้อจำกัดมากกว่าฤดูอื่น ๆ

ควรหลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้กลางหรือปลายฤดูหนาวเนื่องจากการเติบโตในช่วง 3 เดือนแรก จะมีความยากลำบากมากสำหรับต้นไม้และจะเป็นภาระแก่ผู้ปลูเจ้าของหรือผู้ใช้อาคารอย่างมาก

“ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกต้นไม้ร่มเงาน่าจะอยู่ในช่วงปลายฤดูร้อนซึ่งอุณหภูมิเริ่มลดต่ำลง ขณะที่ความชื้นจากฝนต้นฤดูจะช่วยกระตุ้นให้รากมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว  ดังนั้นช่วงปลายเดือนเมษายน ต้นเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงเวาที่การปลูกต้นไม้จะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตในระยะแรก  ที่มีความสำคัญมากของพืช”

ข้อจำกัดของการใช้ร่มเงาไม้ในการลดการใช้พลังงานในอาคาร

อาคารสูงจะได้รับประโยชน์จากการปลูกต้นไม้ร่มเงาจำกัด บางประเทศป้องกันมิให้การปลูกสร้างอาคารได้มีโอกาสสร้างความแปลกแยกของภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมที่สวยงาม ด้วยการออกกฎหมายอนุญาตให้เจ้าของโครงการใด ๆ ปลูกสร้างอาคารสูงเท่าที่อยากจะสร้าง  แต่ต้องไม่สูงเกินความสูงต้นไม้ที่สูงที่สุดในรัศมี 100 เมตร จากตัวอาคาร ดังนั้นในกรณีนี้ต้นไม้ยังมีโอกาสได้ทหน้าที่ในการให้ร่มเงาและลดความร้อนของอาคารได้

ส่วนในประเทศที่มิได้มีข้อห้ามใด ๆ ผู้ออกแบบและเจ้าของอาคารจะต้องมีภาระในการลดความร้อนมิให้เข้าสู่อาคาร ด้วยวิธีการต่างๆ

“ขั้นตอนแรก” เริ่มจากการใช้พรรณไม้ต่าง ๆ  ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาปลูกด้วยการดัดรูปทรงและทรงพุ่มต้นไม้ที่เหมาะสมกับส่วนต่าง ๆ ของอาคาร

“ขั้นต่อไป” สำหรับอาคารที่มีการออกแบบและก่อสร้างเสร็จแล้ว จะใช้พรรณไม้ประดับในกระถางขนาดใหญ่หรือในสวนเพาะปลูกของอาคารบริเวณระเบียง กันสาด ชายคา ดาดฟ้า และอื่น ๆ เพื่อเพิ่มสีสันและร่มเงาให้แก่ผนังอาคาร

อาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร พัทยา ภูเก็ต และเชียงใหม่ ได้ใช้พื้นที่บางส่วนที่สูงจากพื้นดินมาเป็นสวนหย่อม ที่นอกจากจะเพิ่มความเขียวให้แก่ตัวอาคาร การพักผ่อนหย่อนใจแล้งยังได้ประโยชน์ด้านการลดความร้อนที่จะถูกถ่ายเทพื้นคอนกรีตลงสู่พื้นที่ใช้สอยชั้นล่างใต้สวนหย่อมอีกด้วย  การใช้พันธุ์ไม้เพื่อลดการถ่ายเท และเก็สะสมความร้อนของอาคารในลักษณะดังกล่าวจะมีภาระในการติดตามดูแลและบำรุงรักษามากกว่าการเพาะปลูพันธุ์ไม้ที่พื้นดินชั้นล่าง

สำหรับอาคารที่ไม่มีพื้นที่จะปลูกสวนหย่อม หรือหลีกเลี่ยงภาระที่จะต้องบำรุงดูแลพรรณไม้ที่ปลูกบนอาคารสูง จะต้องเลือกพรรณไม้ที่มีทรงพุ่มสูง ที่จะให้ร่มเงาในแนวตั้งได้ถึงชั้นที่สี่ หรือชั้นที่ห้าของอาคารด้วยการปลูกพรรณไม้ที่มีความสูงมากกว่า 10 เมตร เช่น “ปาล์มขวด อโศกอินเดียว สนประดิพัทธ์ สนฉัตร หูกวาง” ส่วนที่ชั้นความสูงตั้งแต่ชั้นที่หกเป็นต้นไป จะต้องหาทางป้องกันการถ่ายเทความร้อนโดยการใช้ไม้กระถาง สวนหย่อมลอยฟ้าดังได้กล่าข้างต้น หรือโดยการออกแบบอาคารให้มีหลืบ ครีบ หรือกันสาดที่จะลดการรับแสงแดดของผนัง ประตู หน้าต่างและส่วนอื่น ๆ ของอาคาร

ข้อจำกัดของพรรณไม้อยู่ที่ความสูง  แต่ข้อจำกัดของเจ้าของอาคาร อยู่ที่ราคาที่ดิน ไม่สามารถปลูกสร้างอาคารให้มีพื้นที่ใช้สอยในแนวนอนได้มาก จึงต้องขยายพื้นที่ใช้สอนในแนวตั้ง ซึ่งจะทำให้อาคารรับความร้อน และแสงสว่างมากขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้น การออกแบบและเลือกใช้วัสดุป้องกันความร้อนและเลือกใช้พรรณไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารจะเป็นทางเลือกของเจ้าของอาคาร ที่จะตัดสินใจลงทุนในระยะแรกเพื่อให้ได้อาคารที่ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายพลังานมากในภายหลัง

การปลูกพืชในอาคาร เช่น ไม้กระถางภายในสำนักงาน ในบ้าน จะไม่มีส่วนช่วยลดความร้อนภายในอาคาร แต่จะช่วยเสริมสร้างสีสันความเขียวของพรรณไม้ให้ผลทางด้านความสุนทรีย์ และการพักผ่อนหย่อนใจมากกว่าทางด้านพลังงาน

ชีวิตไทยได้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานในการดำรงชีวิตกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นอย่างดี และความพยายามปลูกต้นไม้ร่มเงาได้ถูกผสมผสานกับความต้องการในด้านอื่น ๆ เสมอมา เป็นการเลือกพรรณไม้ผลที่รับประทานหรือเป็นสินค้าได้ เช่น “มะม่วง ชมพู่ ขนุน มะพูด มะพร้าว ลำไย จำปาดะ มังคุด เงาะ ทุเรียน” เป็นต้น

สำหรับเมืองที่มีการปลูกสร้างอาคารหนาแน่น และสิทธิที่ดินถูกแบ่งแยกอย่างเบียดเสียด การเลือกพรรณไม้ร่มเงาจึงมีข้อจำกัดมาก โดยจะต้องมุ่งเน้นที่การเติบโตแนวตั้งมากกว่าแนวนอน เช่น “ขนุน ไผ่ โศกอินเดีย ส่วนพันธุ์ไม้พุ่ม” ก็มีส่วนช่วยลดความร้อนเข้าสู่อาคารด้วยเหมือนกัน เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นคอนกรีตของทางเท้า ถนน ลาดจอดรถ ไม้พุ่มจะดูดซับแสงจากดวงอาทิตย์ในการสังเคราะห์แสงและทำให้มีการถ่ายเท คายความร้อน หรือสะท้อนรังสีความร้อน น้อยกว่าพื้นผิวที่ไม่มีพรรณไม้ปกคลุมเลย

ประโยชน์ของการปลูกพรรณไม้บริเวณรอบอาคาร

คือการช่วยยืดอายุการใช้งานของสีทาภายอก ลดการแตกร้าวของปูนฉาบ และยืดอายุการใช้งานของพื้นผิดชนิดต่าง ๆ เช่น กระเบื้องบุผนัง เป็นต้น

การซ่อมบำรุงและป้องกันการเสียหายของพื้นผิวอาคารโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม จะต้องใช้ทั้งวัสดุและพลังงานสิ้นเปลืองมาก โดยเฉพาะพลังงานสิ้นเปลืองที่ทุกขั้นตอนของการจัดหาแปรรูปผลิต จัดส่ง พลังงานรวมทั้งวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างพื้นผิวด้านนอกอาคาร ล้วนมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรและการเกิดภาวะเรือนกระจกอย่างกว้างขวาง

การปลูกพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ เพื่อปกคลุมดินให้ร่มเงา จะช่วยให้สภาพแวดล้อมของอาคารดีขึ้นและทำให้เกิดความเย็นสบายทั้งภายในและภายนอก

การปลูกพรรณไม้ใกล้อาคารและบริเวณโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นทิศใดของอาคารก็ตาม มีส่วนช่วยลดการใช้พลังงานทั้งทางตรงและทางอ้อมอาคารส่วนใหญ่โดยเฉพาะอาคารอยู่อาศัย การก่อสร้างจะให้ความสำคัญที่โครงสร้างและส่วนประกอบอาคารอื่น ๆ เช่น สี วัสดุพื้นผิว เมื่อส่งมอบผู้เป็นเจ้าของอาคารจะมีภาระในการจัดทำรางระบายน้ำ รางน้ำฝน เพื่อมิให้การกัดเซาพังทายของดินขยายวงกว้างของความเสียหายมากขึ้น

เมื่อมีการปลูกพรรณไม้ชนิดต่าง  ๆ รวมทั้งการจัดสวนหย่อม จะช่วยให้พื้นผิวดินมีการปกคลุมและป้องกันการชะล้างพังทลายจากฝนและการไหลของน้ำได้อย่างมาก

การพัดพาตะกอนดินลงทางระบายน้ำหรือทางเท้าถนน หรือส่วนพื้นผิวอื่นของอาคารจำเป็นต้องมีการล้างทำความสะอาดที่จะต้องใช้ทั้งน้ำและพลังงาน และเมื่พต้องการใช้ที่ดินที่มีการชะล้างพังทลายจนมีการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ ก็จำเป็นต้องจัดหาดินจากที่อื่นที่จะต้องมีการขนส่งมีการบำรุงดินด้วยปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการผลิตและจัดส่ง

ปลูกต้นไม้บังอาคาร