กิจกรรมใด ๆ ก็แล้วแต่ ที่อยู่บนพื้นผิวโลกเรา เมื่อสิ้นสุดกระบวนการดังกล่าวนั้น   จะเกิดก๊าซเรือนกระจก ผลที่ตามมาคือ ภาวะโลกร้อน

“ในกระบวนการทั้งหมดนี้ เราต้องการให้เกิดกระบวนการคิด  แล้วจะเกิดความตระหนัก พอเราตระหนักแล้วเราจะ ก่อให้เกิดปัญญา พอปัญญาเกิด ปัญญาจะบอกว่าเราควรจะทำอย่างไร เช่น สอนความตระหนักความเข้าใจให้ลูกหลานแก้ปัญหาโลกร้อนได้” (ผศ.ดร. ธนวันต์ สินธุนาวา, 2564)

จากข้อความประโยคนี้แสดงให้เห็นแล้วว่าแม้เราจะทำเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปผลจากการกระทำเล็กน้อยในอดีตนั้นย่อมเกิดการสะสมและแสดงผลเกินกว่าที่เราจะคาดการณ์ได้ในปัจจุบัน

จากรูปภาพจะเห็นได้ว่าท้ายที่สุดแล้ว เมื่อมนุษย์สร้างกิจกรรมบนพื้นผิวโลก ท้ายที่สุดก็จะวนกลับมาหามนุษย์ ถ้าเราทำกิจกรรมที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ท้ายที่สุดเราจะได้ระบบบริการเชิงนิเวศที่ดี เพราะเรามีการทรัพยากรที่ใช้อย่างรู้คุณค่า แต่ถ้าหากว่าเราปล่อยมลพิษมากเกินไป ท้ายที่สุด มลพิษทางน้ำ ทางอากาศ และดิน ก็จะย้อนกลับมาทำร้ายเรา จึงเป็นสาเหตุที่บอกว่า “กิจกรรมทุกอย่างบนโลก คือกรรมที่เราจะได้รับ” และหลายคนคงสงสัยว่ากิจกรรมบางอย่างที่นักสิ่งแวดล้อมใช้ในการประเมินเพื่อให้เห็นภาพผลกระทบที่เกิดขึ้น เขาใช้อะไรในการประเมิน ในหลักการ “สสารไม่มีวันสูญหายไป แต่แค่มีการเปลี่ยนรูปแต่ปริมาณยังคงที่เท่าเดิม” เป็นการศึกษาแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ ไปยังปลายน้ำ เพื่อศึกษาวัฏจักรของกระบวนการ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาทั้งหมด แล้วนั้น ท้ายที่สุดจะได้ผลพลอยได้  นอกจากจะช่วยให้เห็นรายละเอียดที่ชัดเจน ในการปลดปล่อยหรือสร้างของเสียแต่ละกระบวนการแล้ว ยังสามารถนำประยุกต์เพื่อใช้แก้ปัญหาในปัจจุบันในแง่ของการใช้วิเคราะห์ว่ากระบวนการไหนเกิดผลกระทบมากที่สุด และเราควรจะจัดการกับปัญหาอย่างไร ปัจจุบันมีวิธีการประเมินหลากหลายรูปแบบและหนึ่งในนั้นที่มักใช้กันนั้นก็คือ คาร์บอนฟุตพรินท์

     คาร์บอนฟุตพรินท์  คือ การตามรอยวัฏจักรชีวิต ของผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิต ตั้งแต่การนำวัตถุดิบมาจากธรรมชาติ  การขนส่งเขาโรงงานอุตสาหกรรม หรือกระบวนการผลิตต่าง ๆ  การนำไปใช้งานของผู้บริโภค ตลอดจนถึงการกำจัดและย่อยสลาย

โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) เราสามารถพูดได้ว่า เป็นการคำนวณกิจกรรมของมนุษย์ที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนออกมา ในชีวิตประจำวันแทบจะทุกกิจกรรม ได้แก่  การกินข้าว 1 จาน การเดินทาง การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดยรวมแล้ว ค่าเฉลี่ยของประเทศไทยมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 5.3 – 5.5 ตันคาร์บอน ต่อ คน ต่อ ปี (ราชภัฏกำแพงเพชร, มปป.)

ที่มา: https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.269.1.0.html


ติดตามอ่านตอนอื่นๆ

ตอนที่ 1 :  COP26 คืออะไรและทำไมต้อง COP26

ตอนที่ 3 : เราจะลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้อย่างไร