“ทักษะสิ่งแวดล้อม” หนึ่งในทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในศรรตวรรษที่ 21

เราเกิดมาเพื่อเรียนรู้ หากหยุดการเรียนรู้ ทุกอย่างก็จะหยุดตามไปด้วย การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ การอ่าน การฟัง พูดคุย ลงมือทำ หรืออื่นๆตามอัธยาศัย ตามแต่รูปแบบการเรียนรู้ที่ถนัด การเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดในแค่ห้องเรียน แต่การเรียนรู้ท่ามกลางโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็ว คือ การเรียนรู้ที่เปิดกว้างทั้งในมิติออกนอกห้องเรียนไปจนถึงมิติของการเรียนรู้แบบตลอดชีวิต

เมื่อเรียนรู้และลงมือทำซ้ำๆอย่างต่อเนื่องจะกลายเป็นทักษะซึ่งอยู่ติดตัวได้ในระยะยาว สำหรับทักษะสำคัญ คือ ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C

3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)

7C ได้แก่

  • Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
  • Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
  • Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
  • Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
  • Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
  • Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  • Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

แต่มีทักษะอีกหนึ่งอย่างที่มีความสำคัญนั้นคือ ทักษะสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบขึ้นจากหลายๆทักษะผสมผสานกัน เช่น

  1. มองแบบองค์รวม – เพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของทั้งระบบในสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงที่องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งจะส่งผลกระทบไปยังองค์ประกอบอื่นๆทั้งในเชิงบวกและลบได้
  2. จริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม – คือ สำนึกความรับผิดชอบในสิ่งแวดล้อม คือ เรื่องสำคัญที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับทุกๆคน
  3. การศึกษาตลอดชีวิต – คือ ไม่หยุดการเรียนรู้แค่ในห้องเรียน เรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีเรื่องใหม่ๆให้เรียนรู้อยู่ทุกวัน เปิดใจกว้างๆอย่าปิดกั้นตนเอง
  4. ทักษะการบูรณาการ – คือ การนำจุดเด่นของศาสตร์ที่หลากหลายมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่จำกัดแค่ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตัวเอง สามารถทำงานและเรียนรู้ข้ามศาสตร์ได้
  5. การส่งเสริมการมีส่วนร่วม – คือ การสร้างแรงจูงใจให้เกิดการมีส่วนร่วม ปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่และเกี่ยวข้องกับทุกคน เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายจึงต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
  6. คิดอดีต ปัจจุบัน และอนาคต  – คือ การคิดแบบประเมินผลเสียที่จะตามมาให้รอบครอบ ครอบคลุม เรียนรู้อดีต สร้างปัจจุบัน เพื่ออนาคตที่ดีกว่า
  7. ทักษะการทำงานเป็นทีม – คือ การเข้าใจและยอมรับเรื่องความต่าง พร้อมให้ความร่วมมือเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้เรามองโลกได้กว้างและลึกขึ้นจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่ผู้ที่มีจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง  ซึ่งทางสมาคมฯขอมีส่วนสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะเหล่านี้เพื่อพัฒนาบุคลากรไปสู่ผลเมืองโลกที่รักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

หลักสูตรการเรียนรู้ที่ศูนย์รวมตะวันนั้นนอกจากจะเน้นประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่างๆแล้ว เรายังสอดแทรกทักษะการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงทักษะชีวิตที่จะใช้ชีวิตให้อยู่รอดได้ในศรรตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการคิดแบบสร้างสรรค์,ทักษะการทำงานเป็นทีม,ทักษะการรับผิดชอบในหน้าที่ของตน,ทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู่ที่ผ่านการอบรมไม่ได้รับเพียงแต่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเพิ่มพูนทักษะชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองไปสู่บุคลากรคุณภาพต่อไป

————————————————–

? สนใจหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาหรือติดต่อสอบถามเรื่องจัดค่ายฝึกอบรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ติดต่อประสานงานโดยตรงที่ โทร : 02-408-1600
สำหรับท่านที่สนใจหลักสูตรสำหรับ
เยาวชน นักเรียน นักศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ https://goo.gl/l8pYNv

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก  http://www.vcharkarn.com/varticle/60454