การสะสมพลังงานจากดวงอาทิตย์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปของพลังงานความร้อนและพลังงานศักย์ การสะสมความร้อนมีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ค่อนข้างมาก คือจะไม่สามารถไว้ใช้ประโยชน์เป็นเวลายาวนานได้ ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ในเวลาสั้นๆ เช่น การทำน้ำให้ร้อน เพื่อใช้ประโยชน์ภายในบ้าน หรือการถนอมรักษาอาหาร การตากแห้งต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ผลผลิตการเกษตรและอื่นๆ ถึงแม้จะมีข้อจำกัดในการใช้พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์โดยตรงก็ตาม แต่มนุษย์ก็เรียนรู้วิธีการใช้ประโยชน์พลังงานแสงแดดมาหลายพันปีแล้ว ส่วนพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มีการสะสมและทำให้เกิดพลังงานศักย์ ได้แก่ พลังงานลม พลังงานน้ำ ซึ่งสามารถใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้พลังงานส่วนนี้ เกิดจากการถ่ายเทความร้อน และการทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและอากาศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ พลังงานบางชนิดจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 50 ล้านปี ส่วนใหญ่อยู่ในระดับลึกจากพื้นดินมาก โดยอาศัยอุณหภูมิแรงกดดันและเวลาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดวัสดุพลังงานที่มีคุณภาพและนำไปใช้ในการผลิตและการบริโภคที่หลากหลายได้
เมื่อมีการนำพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้จะพบว่า การใช้พลังงานที่ได้จากการสะสมความร้อน จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แต่สำหรับการใช้ฟืนและถ่าน มีผลกระทบต่อสภาพป่าโดยตรง ถ้าเป็นถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน จะมีผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังนี้
- นับตั้งแต่การสำรวจ ขุดเจาะ การแต่งแร่ การขนส่ง การแปรรูป การจัดส่ง และการใช้ประโยชน์ นั่นคือ การสำรวจและการขุดเจาะ จะทำให้มีน้ำโคลนท่วมนองไปในแปลงเกษตรหรือในทะเล
- มีการสูญเสียพื้นที่ป่า สูญเสียแหล่งผลิตสัตว์ น้ำในแหล่งน้ำ
- การเผาไหม้จะทำให้ก๊าซพิษนานาชนิด นับตั้งแต่ก๊าซออกไซด์ของกำมะถัน ออกไซด์ของไนโตรเจน คาร์บอนได้ออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และอื่นๆ
- การลำเลียงขนส่งสินแร่ และวัสดุพลังงานออกจากแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ จะทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่า เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศทั้งทางบกและทางน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งพลังงานนั้นๆ
- การจัดส่งไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไปตามสายส่งแรงงสูงเข้าไปในป่าทำให้มีการเสียพื้นที่ป่าเป็นอย่างมาก ซึ่งการสูญเสียพื้นที่ป่านี้ นอกจากจะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ การผลิตทางการเกษตรและคุณภาพสิ่งแวดล้อมแล้ว
- ทำให้ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสังคมของมนุษย์อีกด้วย
- การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่ คุณภาพน้ำ ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินมีการปนเปื้อน มีอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตทางการเกษตร คุณภาพอากาศจากการเผาไหม้ วัสดุพลังงาน เสียงดังจากการใช้พลังงานในการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
แนวโน้มของปัญหาจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพลังงานชนิดต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการเพิ่มจำนวนประชากรและการขยายตัวการผลิต ดังนั้นความจำเป็นในการใช้พลังงานจึงเพิ่มขึ้น และเป็นเหตุให้มีการนำพลังงานชนิดต่างๆ จากแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติออกมาใช้ เมื่อมีการแข่งขันทางการผลิต ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ทำให้มีการพยายามลดต้นทุนการผลิตและขาดความระมัดระวังป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
การแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน จะต้องทำหลายด้านพร้อมกัน ทั้งด้านการป้องกันและแก้ไข โดยจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานและกฎหมายที่เอื้อต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจในการจัดหาและใช้พลังงานอย่างถูกต้องและไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเสริมบทบาทของทุกฝ่ายในการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า
ทางด้านผู้บริโภคจะเริ่มด้วยการทำความเข้าใจผลกระทบจากการใช้พลังงานที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและปรับเปลี่ยนวิถีการใช้พลังงานละทรัพยากรอื่นๆ ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีบทบาทและส่วนร่วมในการรณรงค์เผยแพร่และสร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม