ข่าวผลกระทบจากขยะพลาสติกมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง และมีความพยายามอย่างมากที่จะทำให้ปริมาณขยะพลาสติกลดน้อยลงในรูปแบบของการออกมาตรการ การขอความร่วมมือ และสร้างแรงจูงใจต่างๆ แต่กระนั้นยังคงพบว่าขยะพลาสติกยังมีให้เราเห็นอยู่รอบตัว นั้นคือมันยังสร้างปัญหาอยู่ ถึงเวลาที่ทุกๆหน่วยงานจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกและเราคือส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะร่วมแก้ปัญหานี้
เกิดจากการปล่อยออกจากมือแล้วไปจบที่ทะเล
มันอยู่ลึกสุดขั้วมหาสมุทรและมันก็ยังอยู่บนสูงสุดของยอดเขา มันจะอยู่ในทุกๆที่ที่คุณอยู่ และเมื่อตราบที่คุณกินอาหารทะเลก็เท่ากับว่าคุณกำลังกินพลาสติกในปริมาณเท่ากับบัตรเครดิตรเข้าสู่ร่างกายทุกวัน ความเดือดร้อนนี้ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ เต่าทะเล ปลาวาฬ หรือแม้กระทั่งปะการังยังได้รับผลกระทบอย่างถ้วนหน้า
ข้อมูลจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยรายงานว่า ปี 2563 มีอัตราการเพิ่มขยะพลาสติกเป็นร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปี 2562 เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนที่มักการสั่งอาหารไปกินที่บ้านมากขึ้นและซื้อกลับบ้านมากขึ้น และขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ในปี 2562 เหลือ 1.63 ล้านต้นส่วนในปี 2563 มีเหลือมากถึง 2.78 ล้านตัน และหากเส้นทางของขยะพลาสติกไปจบลงตรงทะเล จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ? ข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่าขยะที่พบมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ขยะพลาสติกโดยเฉพาะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง จากการคาดการณ์จะมีขยะพลาสติกปนเปื้อนลงสู่ท้องทะเลมากถึงปีละ 32,600 ตัน/ปี โดยส่วนใหญ่มากถึงร้อยละ 80 เกิดจากกิจกรรมบนฝั่ง เช่น ชุมชน แหล่งทิ้งขยะบนฝั่ง ท่าเรื่อ และการท่องเที่ยว ผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้น คือ ทำลายทัศนียภาพมีผลต่อเรื่องธุรกิจท่องเที่ยว,สัตว์น้ำต่างๆกินเข้าไปแล้วส่งผลให้สัตว์น้ำ เช่น โลมา ปลาวาฬ หรือเต่าตาย และสิ่งที่น่ากลัวไปกว่านั้น คือ เมื่อพลาสติกถูกย่อยให้มีขนาดเล็กโดยแสงอาทิตย์จนมีขนาดเล็กกว่า 5-0.001 มิลลิเมตรที่เรียกว่า ไมโครพลาสติก (Microplastics) ซึ่งจะส่งผลให้สารเคมีมีพิษบางชนิดละลายลงไปในทะเล ขณะที่พลาสติกบางชนิดยังสามารถดูดซึมสารพิษ เช่น PCB ที่อยู่ในทะเลเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร ซึ่งจะเป็นผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนห่วงโซ่ที่สูงกว่า และนั้นก็หมายถึงพวกเราที่ยังกินอาหารทะเลกันอยู่นั้นเอง
เส้นทางการแบนพลาสติกในไทย
สถานการณ์ขยะยังเป็นปัญหาเพิ่มแรงกดดันในระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ในเมืองไทยในช่วง 3-5 ปีให้หลังมีความจริงจังมากขึ้นหลายๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือช่วยกันลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หันมาใช้ถุงผ้ากันมากขึ้น และล่าสุดคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 พ.ศ. 2563 – 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะและช่วยให้การจัดการขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยมีรานละเอียดดังนี้
เป้าหมายที่ 1 : การลด เลิก ใช้พลาสติกเป้าหมายด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แบบ 100% ภายในปี 2565 ได้แก่
- ถุงพลาสติกหูหิ้วความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน (ด้วยเหตุผลที่ว่าพลาสติดสนิดนี้ ฉีกขาดง่าย นำมาใช้ซ้ำยาก ปลิวไปไหนต่อไหนได้ง่ายและไกล ที่สำคัญคือไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้)
- กล่องโฟมบรรจุอาหาร ไม่รวมถึงโฟมที่ใช้กันกระแทกในภาคอุตสาหกรรม
- แก้วพลาสติก ความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน (แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง)
- หลอดพลาสติก ยกเว้นการใช้กรณีจำเป็นได้แก่ การใช้ในเด็ก คนชรา ผู้ป่วย เป็นต้น
เป้าหมายที่ 2 : นำพลาสติกกลับเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำพลาสติกกลับไปใช้ใหม่ไม่น้อยกว่า 50% ในปี 2565 ประกอบไปด้วย
- ถุงหลาสติกหูหิ้วแบบหนา
- บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชิ้นเดียว
- ขวดพลาสติกทุกชนิด
- ฝาขวด
- แก้วพลาสติก
- ถาดและกล่องอาหาร
- ช้อนส้อมและมีดพลาสติก
1A 3R ทางออกของการจัดการขยะที่ต้นทาง
ทางที่ดีไม่ควรจะปล่อยขยะให้ไปถึงปลายทางเพราะนั้น คือ ความยุ่งยากและเป็นปัญหาต่อการจัดการเป็นอย่างมาก เราจะต้องงหยุดยั้งขยะตั้งแต่ต้นทาง คือ หนทางที่ดีที่สุด และแนวทางการจัดการขยะที่ต้นทาง 1A3R มีดังนี้
Avoid หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะที่ยากต่อการกำจัด เช่น โฟม
Reduce ลดการซื้อ การใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะ เช่น ขวดน้ำพลาสติก,กระดาษทิชชู่
Reuse การนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วนำกลับมาใช้งานใหม่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปรสภาพ เช่น การนำกล่องขนมกลับมาบรรจุน้ำตาล,
Recycle การนำวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่สำหรับวัสดุที่สามารถผ่านกระบวนการ recycle หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ ได้แก่ แก้ว กระดาษ โลหะ และพลาสติก
มาคิดคิดเปลี่ยนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่ากันเถอะ
- ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบหนา เปลี่ยนไปใช้ถุงผ้า
- บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชิ้นเดียว เปลี่ยนไปเป็น bee wax rape หรือ กล่องใส่อาหารหรือปิ่นโตแทน
- ขวดพลาสติกทุกชนิด เปลี่ยนไปเป็น แก้วน้ำส่วนตัว
- แก้วพลาสติก เปลี่ยนไปเป็น แก้วน้ำส่วนตัว
- ถาดและกล่องอาหาร เปลี่ยนไปเป็น กล่องข้าวหรือปิ่นโต
- ช้อนส้อมและมีดพลาสติกเ ปลี่ยนไปเป็น ช้อนส้อมแบบใช้ซ้ำส่วนตัว
ในเมื่อเรายังอยู่บนโลกที่ยังคงมีพลาสติกรอบตัวอยู่ สิ่งที่จะทำได้นั้นอาจจะยังไม่สามารถเลิกไปได้เลยที่จะใช้พลาสติกแต่เราสามารถเริ่มจาก ลดการใช้ลงให้ได้มากที่สุด จากนั้นละหาสิ่งที่สามารถใช้ทดแทน ใช้ซ้ำได้ จนท้ายที่สุดสามารถเลิกลาจากพลาสติกได้ในที่สุด ช่วยกันคนละไม้ละเมืองเพื่อก้าวสู่โลกปลอดพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนต่อไป
ข้อมูลอ้างอิง
- https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/922683
- https://www.ryt9.com/s/cabt/3199825
- https://www.facebook.com/deqpth/posts/2517732834924475
- https://www.mangozero.com/thai-boycott-plastic-watse-4-type/
- https://www.isranews.org/article/isranews-article/96135-isrranews-43.html
- https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/923383
- https://www.dmcr.go.th/
ภาพจาก https://pixabay.com