ยาสูบเป็นพืชที่ดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารจากดินอย่างมาก ส่งผลให้ดินเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถปลูกซ้ำได้ ดังนั้น ถ้าจะปลูกยาสูบให้ได้ผลผลิตดีจึงต้องมีการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกยาสูบอยู่เสมอ หรือต้องใช้ปุ๋ยเคมีรวมถึงการใช้ยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมากในการเสริมแร่ธาตุและปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกต่อไป ทำให้ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของการเพาะปลูกยาสูบอยู่ใน 10 ลำดับแรกของพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีสูงเลยทีเดียว สอดคล้องกับที่กรมพัฒนาที่ดินได้รายงานในเอกสารวิชาการ (ตุลาคม 2561) ว่า เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูกยาสูบสูงถึง 60-120 กิโลกรัมต่อไร่ จัดเป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนที่สูงรองจากต้นทุนทางด้านแรงงาน
เมื่อก้นบุหรี่ถูกทิ้งลงบนพื้นดิน พลาสติกประเภทเซลลูโลสอะซิเตท ที่ใช้ทำก้นบุหรี่จะใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึง 10-15 ปี ซึ่งเท่ากับว่าดินบริเวณที่มีก้นบุหรี่ถูกทิ้งมีแนวโน้มว่าจะมีสารปนเปื้อนอยู่ในดินนานหลายปี สารเหล่านี้ได้แก่ สารโพลีอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ พีเอเอช (PAHs) ฯลฯ เมื่อดินปนเปื้อน สิ่งมีชีวิตก็มีโอกาสที่จะได้รับสารพิษและสะสมจนเป็นภัยต่อสุขภาพในเวลาต่อมา
————————————-
ติดตามตอนต่อไปได้ที่