ชื่อไทย                  ยางอินเดีย (Decora tree, Indian rubber tree, Rubber plant)

ชื่อท้องถิ่น             ยางลบ (ภาคกลาง) ลุง (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Ficus elastica Roxb. Ex Hornem

วงศ์       MORACEAE

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ขนาดกลาง สูง 10 – 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอด ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม มีรากอากาศห้อยระย้า ใบอ่อนมีหูใบสีชมพู หรือสีแดง รูปร่างแคบยาวคล้ายกรวยหุ้ม

ลักษณะใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 4 – 8 เซนติเมตร ยาว 10 – 12 เซนติเมตร โคนสอบเรียว ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงเป็นมัน ส้นกลางใบ และก้านใบของใบอ่อนสีแดง

ลักษณะดอก ดอกแยกเพศ มีขนาดเล็ก จำนวนมาก ติดอยู่ภายในฐานรองดอก ที่มีรูปร่างคล้ายผล

ลักษณะผล ผลมีเนื้อ รูปร่างกลมรี หรือขอบขนาน กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 1 – 5 เซนติเมตร ผลสุกมีสีเหลือง

ระยะการออกดอกติดผล

ไม่เคยพบว่ามีการออกดอกติดผลในประเทศไทย

เขตการกระจายพันธุ์

มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและเอเชียใต้ พบปลูกเลี้ยงทั่วไป เนื่องจากขึ้นได้ในดินทุกประเภท

การใช้ประโยชน์           

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

น้ำยาง: ใช้ทำยาง

ใบ: ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำพวงหรีด

แหล่งข้อมูล: สำนักงานหอพรรณไม้ – กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

[qrcode url=”https://adeq.or.th/qr/0025″ margin=”10″ size=”150″ after=”ต้นยางอินเดีย”]