,

ข้อสรุปจากการตรวจเยี่ยมโรงเรียน 30 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ Energy Mind Award Season2 ประจำปี 2566

การตรวจเยี่ยมโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ Energy Mind Award ปี 2566 ได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 ที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ และคณะกรรมการประเมินฯ ได้ทำการตรวจเยี่ยมโรงเรียนต่างๆ เรื่อยมาจนเสร็จสิ้นลงที่ โรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 รวมทั้งสิ้น 30 โรงเรียน ในการตรวจเยี่ยมโรงเรียน นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับมาตรฐานโรงเรียน Energy Mind Award 1-5 ดาว แล้ว ยังเป็นโอกาสที่คณะกรรมการฯ จะได้ให้คำแนะนำโรงเรียน เกี่ยวกับการพัฒนาระบบ กลไก และการดำเนินงานทางด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่การสร้าง Green Skills ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนของโรงเรียน

โครงการ Energy Mind Award Season2 ซึ่งดำเนินการโดย การไฟฟ้านครหลวงและสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขอขอบคุณโรงเรียนที่ได้ดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ Green Skills อย่างตั้งใจและทุ่มเทที่จะทำให้นักเรียนของตน เป็นเยาวชนที่นอกจากจะมีความรู้จากการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางแล้ว ยังได้มีโอกาสใช้ความรู้ในห้องเรียนมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง ดังเจตนารมณ์ของโครงการ Energy Mind Award Season2 นี้ค่ะ

จากการตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ พบว่า โรงเรียนต่างๆ มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับระบบและกลไกการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการนำเรื่องการสร้างจิตสำนึกของนักเรียนต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมผนวกในแผนกลยุทธ์หรือแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียน รวมทั้งการบูรณาการความรู้ในการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระวิชา หลายโรงเรียนทำได้ดีมากในเชิงการบูรณาการแบบข้ามวิชา (Trans-displinary Integration) บางโรงเรียนมีการบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Interdisplinary Integration) ในขณะที่โรงเรียนส่วนใหญ่ถึงแม้จะมีการบูรณาการแบบผนวกเข้าไปใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้แบบรายวิชา แต่ก็ทำกันทุกกลุ่มสาระ ทุกชั้นปีบ้างบางชั้นปีบ้าง

ส่วนการจัดการทางด้านกายภาพ โรงเรียนส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพพลังงาน และมีการใช้อุปกรณ์จ่ายน้ำที่เป็นรุ่นประหยัดน้ำเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้จะยังไม่เต็ม 100% อย่างไรก็ตามสิ่งที่หลายโรงเรียนจะต้องพัฒนาต่อน่าจะเป็นเรื่องการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทั้งที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟแสงสว่าง ฯลฯ และอุปกรณ์จ่ายน้ำเช่น ก็อกน้ำ สุขภัณฑ์ รวมถึงระบบท่อและข้อต่อต่างๆ  ที่จะต้องจัดทำแนวปฏิบัติในการบำรุงรักษาอุปกรณ์เหล่านี้ และสื่อสารถึงผู้ที่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ทั่วถึงและชัดเจนมากขึ้น พร้อมทั้งติดตามตรวจสอบการปฏิบัติการ เพื่อคงไว้ซึ่งมาตรฐานที่จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

โรงเรียนส่วนใหญ่ยังคงเน้นการจัดการขยะที่ปลายทาง ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาขยะโรงเรียนได้อย่างเบ็ดเสร็จ เนื่องจากในส่วนต้นทางยังคงมีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะอยู่อย่างไม่จำเป็น เช่น การใช้น้ำดื่มบรรจุขวด หรือจำหน่ายขนมขบเคี้ยวที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการจัดการ หลายแห่งถึงแม้จะมีการจัดกิจกรรมสื่อสารรณรงค์ให้ความรู้ภายใต้โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือจัดบูรณาการในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แต่พบว่า ยังมีการทิ้งขยะรีไซเคิลปะปนกับขยะทั่วไป ซึ่งอาจตีความได้ว่า นักเรียนส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจ หรือขาดความตระหนักต่อความจำเป็น/ความสำคัญของการแยกขยะ หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าโรงเรียนยังจัดระบบการแยกขยะได้ไม่เหมาะสม ซึ่งจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทิ้งขยะของนักเรียน เพื่อนำมาวิเคราะห์หาทางแก้ไขปัญหาต่อไป และถ้าโรงเรียนสอนให้นักเรียนแกนนำ Green Youths ทำ นักเรียนแกนนำเหล่านี้ก็จะได้มีโอกาสเรียนรู้จนเกิดเป็นสมรรถนะที่มีการพูดคุยกันว่า นักเรียนของเรายังขาดอยู่

ในการตรวจเยี่ยมครั้งนี้ พบว่า โรงเรียนยังมีจุดอ่อน 2-3 อย่าง คือ ไม่มีการติดตามความคืบหน้าในการทำงานด้านต่างๆ ของคณะทำงานอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ว่ามีความก้าวหน้าเพียงใด ทำแล้วมีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง และจะแก้ไขปัญหาหรือขจัดอุปสรรคอย่างไร รวมทั้งการประเมินผลหลังจากการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ที่โรงเรียนมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ แต่ดูเหมือนวิธีการวัดยังไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงตามที่กำหนดไว้ในตัวชี้วัดได้  นอกจากนี้ ยังพบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ ถึงแม้จะจัดให้มีการสำรวจประสิทธิภาพพลังงาน โดยการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าในโรงเรียน สำรวจประสิทธิภาพด้านการใช้น้ำ รวมทั้งสำรวจการจัดการขยะ  โดยนักเรียนแกนนำ แต่ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจกลับไม่ถูกใช้ประโยชน์ในการออกแบบโครงการหรือกิจกรรมที่จะทำเพื่อผลักดันให้โรงเรียนกลายเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ Green Skills และนักเรียนแกนนำก็ไม่ได้มีโอกาสในการสร้างสมรรถนะจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อส่งต่อให้โรงเรียนได้ใช้ประโยชน์ในการจัดการด้านการใช้พลังงาน การใช้น้ำและการจัดการขยะ ต่อไป สุดท้ายนี้ ทีมงานโครงการ Energy Mind Award หวังว่า ข้อสรุปจากการตรวจเยี่ยมโรงเรียนปี 2566 ที่เขียนขึ้นมานี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับให้โรงเรียน Energy Mind Award ปี 66 ได้นำไปใช้พัฒนาต่อยอดการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน และสำหรับ โรงเรียน Energy Mind Award ปี 67 ได้มีการดำเนินงานอย่าง

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *