ชื่อไทย คาง
ชื่อท้องถิ่น คาง จามจุรีป่า จามจุรีดง กาง ก๋าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia lebbekoides (DC.) Benth.
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตามกิ่งก้านมีขนขึ้นปกคลุม
ลักษณะใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละใบประกอบมี 15-25 คู่ เรียงตรงข้ามกัน ไม่มีก้าน ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม มีขนขึ้นปกคลุมทั้ง 2 ด้านลักษณะดอก ออกดอกเป็นช่อด้านข้าง เป็นดอกช่อชนิดกลุ่มย่อย กลีบเลี้ยงเป็นรูปกระดิ่ง กลีบดอกเป็นหลอด
ลักษณะผล ผลมีลักษณะฝักแบนโต สีน้ำตาลเข้ม มีขนขึ้นปกคลุม
ระยะการออกดอกติดผล
ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
เขตการกระจายพันธุ์
ขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าผลัดใบ ที่ระดับ ความสูงถึง 1,000 เมตร
การใช้ประโยชน์
ดอก : ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ยาแก้ลงท้อง ใช้แก้พิษงู รักษาคุดทะราด และรักษาอาการไข้ที่เกิดจากพิษ แก้ตาอักเสบ ยาแก้ฝี แก้บวม แก้ฟกช้ำบวม รักษาอาการปวดบาดแผล
เปลือก : เปลือกต้นมีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะและบำรุงหนังเส้นเอ็นให้บริบูรณ์ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต การใช้เปลือกต้น 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ใช้เป็นยาแก้ไอ ใช้เป็นยารักษาลำไส้พิการ แก้โรคพยาธิ ช่วยรักษาอาการตกเลือด รักษาฝี แก้แผลเน่าแหล่งข้อมูล : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม / สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้