ตื่นลืมตาขึ้นมาตอนเช้า มองออกไปนอกหน้าต่าง อากาศขมุกขมัวเต็มไปด้วยหมอกหนาเช่นนี้ เราเคยคิดไหมว่าในนั้นมีอะไรแอบแฝงอยู่บ้าง สื่งที่เรามองมันไม่เห็นใช่ว่ามันจะไม่มี และสิ่งที่มีอยู่นั้นมันอาจสร้างอันตรายให้กับเราโดยไม่รู้ตัว
- ฝุ่นPM2.5ยังอยู่กับเราอีกตราบนานเท่านาน
ปัญหาอาจเกิดจากการมองไม่เห็นก็อาจเพราะขนาดที่เล็กขนาด 1 ใน 25 ส่วนของขนาดเส้นผม หรือขนาดไม่เกิน 25 ไมครอน จึงทำให้ยากต่อการจินตนาการได้ว่าฝุ่น PM2.5 มันจะสร้างผลกระบทต่อร่างกายเรามากน้อยเพียงใด ซึ่งเราสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ เช่น air4thai เพื่อใช้ประเมินและเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 แบบรายวันได้ และสิ่งสำคัญ คือ การเฝ้าระวังผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวเองและคนใกล้ตัว เช่น อาการไอ จาม หรือภูมิแพ้ ตลอดจน อาการผื่นคัน ระคายเคืองต่อผิวหนังที่เกิดขึ้นบ่อยๆช่วงนี้ ที่สำคัญคือ ผู้ที่มีภาวะอ่อนแอมีโรคประจำตัวอยู่แล้วอาจจะนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง หรือโรคปอดไปจนถึงมะเร็งปอดส่งผลต่อภาวะร้ายแรงถึงกับเสียชีวิตได้ จากนี้ไปเราเองก็คงต้องหันกลับมาปรับทัศนคติในแง่ของการเข้าใจและยอดรับว่า สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ยังคงต้องอยู่กับเราไปอีกนานแสนนานสิ่งที่จัดการได้ดีที่สุด คือ การหันมาจัดการตัวเอง ระมัดระวังและรู้จักป้องกันอย่างรัดกุม
- ภาวะฝาชีครอบกับวัฏจักรที่เราต้องเผชิญอย่างไม่รู้จบ
เป็นที่ทราบกันดีว่าแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 นั้นมาจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น การคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะฝุ่นเล็กๆที่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงดีเซล หรือการเผาในที่โล่ง ซึ่งหากสภาพแวดล้อมแบบเปิดโล่งมีลมพัดผ่านเป็นระยะหรือมีความชื้นมากพอนั้นย่อมจะบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ไปได้บ้าง แต่หากว่าบางพื้นที่ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยภูเขาหรือสิ่งก่อสร้างอาคารสูงอย่างพื้นที่ในเมืองและช่วงนั้นเป็นช่วงหน้าหนาวมีอากาศเย็น อากาศที่อยู่สูงจะมีน้ำหนักและกดต่ำ บวกกับสภาพของอากาศที่นิ่งไม่มีลมพัด จะส่งให้สภาพอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่น PM2.5 ไม่สามารถล่องลอยกระจายออกไปได้ ภาวะเช่นนี้เปรียบเหมือนฝาชีครอบยืดอายุผลกระทบของฝุ่นPM2.5ให้อยู่กับเรายาวนานขึ้น และมักจะวนเกิดขึ้นมาซ้ำๆในช่วงหน้าหนาวของทุกๆปี เราจะต้องเผชิญกับวัฎจักรนี้อย่างไม่รู้จบแบบนี้จริงๆหรือ ?
- เมื่อฝุ่น PM2.5 ซ้ำเติมวิกฤตโควิด-19
ในเมื่อฝุ่น PM2.5 ยังอยู่กับเราและเรายังคงต้องใช้ชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยกันต่อไป แต่เหตุการณ์ที่ยากจะควบคุมได้กับยุคที่อะไรก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็นำพาวิกฤตอีกหนึ่งอย่าที่ถาโถมเข้ามานั้นคือ วิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 คำถามที่น่าสนใจคือ ฝุ่นPM2.5มีความเชื่อมโยงกับโควิด-19 หรือไม่? เราได้มีการรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจจากแหล่งต่างๆมานำเสนอให้รับทราบ
จากการศึกษามหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเรื่องผลกระทบในระยะยาวของมลพิษทางอากาศเกี่ยวกับ PM2.5 พบว่า การเพิ่มขึ้นของฝุ่น PM2.5 ในช่วงหลายปีก่อนจะเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 อาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของคนในพื้นที่นั้น ๆ ราว 15 เปอร์เซ็นต์ . ส่วนงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งของอิตาลีแสดงให้เห็นว่า มลพิษทางอากาศทางตอนเหนือของอิตาลีเป็นปัจจัยร่วมที่ส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่สูงยิ่งขึ้น สำหรับในประเทศไทยนั้นได้รับ ข้อมูลจาก นพ.โอภาส กล่าวว่า ไม่มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันชัดเจน อย่างไรก็ตาม ฝุ่นทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นเซลล์ตรงเยื่อจมูกอ่อนแอลง ก็ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น แต่ปัจจัยทางสังคม เมื่อมีฝุ่นมากคนก็จะไม่ออกจากบ้าน หรือลดการทำกิจกรรมลง ก็ทำให้ความเสี่ยงลดลงด้วย ยกเว้นว่า หากรับเชื้อโควิดและรับฝุ่น PM2.5 เมื่อเข้าไปในปอดจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้
จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนถึงความเชื่อมโยงของสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 โดยเฉพาะประเด็นของการที่ฝุ่น PM2.5 จะส่งผลทำให้ปอดของเราอ่อนแอและหากว่าเราติดโรคโควิด-19ย่อมจะได้รับความรุนแรงจากโรคมากกว่าส่งผลต่อการเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น
- เราจะเอาตัวรอดจากวิกฤตโควิด-19และฝุ่นPM2.5 ได้อย่างไร
“การใช้ชีวิตต่อไปนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป.”
สำหรับประโยคนี้เราได้ยินจนคุ้นหูกันแล้ว สิ่งที่เราจะทำต่อ คือ การจัดการตัวเองแบบบูรณาการหรือจัดการตัวเองแบบเบล็ดเสร็จ หมายความว่า จะคิดแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้เราจะต้องคิดทุกอย่างไปพร้อมๆกันและทำทุกอย่างไปพร้อมๆกันกับแนวคิด เรียนรู้ให้เร็ว แก้ปัญหาให้เร็ว ปรับตัวให้เร็ว เราจึงจะอยู่รอดได้ เราเองต้องตระหนักสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องไปพร้อมๆกัน เรารวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องมาให้ศึกษากันดังนี้
- 8 วิธีลดผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 แบบไม่ต้องพึ่งใคร
- ต้นไม้ดูดสารพิษ ยืดชีวิตต่อลมหายใจ
- รู้เท่าทัน 10 ความเสี่ยงสุขภาพคนไทย ปี 2564
เวลานี้สิ่งที่ดีที่สุด คือ การเรียนรู้ ตระหนักและลุกขึ้นมาปกป้องตัวเอง พึ่งพาตัวเองด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันทางกายลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆไม่ว่าจะเป็นเหล้า บุหรี่ รวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจด้วยการเสพสื่ออย่างมีสติ คิดบวก แบ่งปันด้วยความเห็นอกเห็นใจกัน และที่สำคัญ คือ การร่วมด้วยช่วยกันในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยังมีคุณภาพที่ดีเพื่อโอบอุ่มให้เราได้มีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนกันต่อไป
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง