,

หยุดโลกร้อนด้วยมือเรา ตอนที่ 3 : ผลกระทบ 10 ประการจากภาวะโลกร้อน (1)

ผลกระทบ 10 ประการจากภาวะโลกร้อน (1)

  1. คลื่นความร้อน ในต่างประเทศมีการแจกเอกสารไปตามบ้าน  ติดประกาศตามผนังว่าในช่วงที่อากาศมีอุณหภูมิสูงกว่า 400C ข้อควรปฏิบัติ 10 ประการมีอะไรบ้าง เขาแจกเป็นปฏิทินเลย  รัฐบาลอินเดียซึ่งไม่ได้มีความเข้าใจมากกว่ารัฐบาลไทยนัก  ประกาศว่าถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 440C คุณไม่ต้องมาทำงาน  ถือเป็นวันหยุดราชการ  ไม่ต้องส่งลูกไปเรียนหนังสือเพราะโอกาสตายสูงมาก

    เมื่อสิงหาคม 2550 คนอินเดียตายไป 103 คนในวันเดียวกัน  เพราะอุณหภูมิสูงถึง 470C และในวันเดียวกันที่ปากีสถานตายไป 47 คน ปีนี้เดือนกันยายนญี่ปุ่น 450C ตายไป 14 คน ที่ฮังการี 503 คน ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ป่วย  มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ง่าย 5 ปีที่ร้อนที่สุด คือ 5 ปีสุดท้ายที่ผ่านมา 2006 อุณหภูมิสูงมาก ตั้งแต่วัดอุณหภูมิตั้งแต่ 1800 เป็นต้นมา ปี 2003 เป็นต้นเหตุให้คนตายไป 35,000 คน ในฝรั่งเศสตายไป 25,000 คน ปี 2002 เป็นปีที่น้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายอย่างรุนแรง ปี 2005 ร้อนที่สุด  แต่ว่าปี 2007 ผ่านมาร้อนเป็นอันดับ 2

1)  2005                  ถึงแม้ว่าปี 2007 จากการศึกษาความเข้มและปริมาณความร้อนจากดวงอาทิตย์

2)  1998     2)  2007  เป็นปีที่เราได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี แต่ก็ทำให้ปี

3)  2002                  2007 มีอุณหภูมิสูงเป็นอันดับ 2 ในรอบ 10 ปี รองจากปี 2005 ถ้าหากดวง

4)  2003                  อาทิตย์มีการแผ่รังสีมาตามปกติ ปี 2007 คงจะมีโอกาสแซงปี 2005 แน่นอน

5)  2006

  1. น้ำทะเลที่สูงขึ้นและการกัดเซาะชายฝั่ง  ขณะนี้น้ำทะเลมาแล้ว  การเปลี่ยนแปลงของภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นแล้วภาพนี้ (ภาพด้านล่าง) คือ หลักเขตกรุงเทพมหานครเมื่อ 45 ปีที่แล้ว  ทางขวาและซ้ายมือเป็นป่าชายเลนและติดกับจังหวัดสมุทรปราการ  ปัจจุบันหลักเขตนี้อยู่ห่างจากชายฝั่ง 900 เมตร  การกัดเซาะรุกคืบทีละ 8-10 เมตร  มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งไปขนหินมาถมเป็นเขื่อนที่ชายทะเล  ต่อมาเขื่อนยังอยู่แต่โรงเรียน บ้าน วัด ตรงนี้ไปหมดเลย  เพราะฉะนั้นน้ำทะเลกัดเซาะเราไม่ต้องไปสู้อะไร  มีบ้านนายธนาคารคนหนึ่งที่ปราณบุรีโดนกัดเซาะ  มีสระว่ายน้ำ  เช้ามาก็ทรายเต็มสระเลย  ฝั่งโดนกัดเซาะไปสูง 1 เมตร 85 เซนติเมตร  ฝั่งของอ่าวไทยก็เกิดขึ้นเยอะมาก  ที่เกาะช้างต้นสนอายุ 50 ปี ได้ล้มลงทะเลเนื่องจากคลื่นขาเข้าเอาเปลือกหอยหนักๆ เข้าไปให้  แต่ขาออกถึงทรายออกมา  เพราะฉะนั้นทรายที่ support ตรงนี้จึงหายไป  ต้นสนที่ล้มลงนี้ยอดยังเขียวอยู่  แต่ว่าโดดกัดเซาะลงมาอย่างรุนแรงมาก  ที่ภูเก็ตเจ้าของที่ได้เอารถบรรทุกขนทรายไปถมพื้นที่ชายฝั่ง  แต่ทั้งรั้วทั้งทรายก็ไปหมด  อุทยานแห่งชาติที่เป็นต้นสนที่อยู่รินทะเลก็ไปแล้ว  ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ถ่ายภาพมากลับไปอีกครั้งก็ไม่อยู่แล้ว
  1. การละลายของน้ำแข็ง ภูเขาสูงๆ ก็น้ำแข็งละลาย เช่น ที่กราเซียร์มีธารน้ำแข็งอยู่ข้างบน รูปถ่าย 1911 เทียบกับปี 2000 ด้านล่างจากเดิมที่เป็นน้ำแข็งกลายเป็นทะเลสาบประมาณ 30 กิโลเมตร  มีภาพ Before-After ยืนยันการละลายของน้ำแข็งซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลก  แม้กระทั่วผู้ประกอบการสกีรีสอร์ทก็ขาดทุนกันทั่วหน้า  เพราะหิมะมันเปียก  ปกติหิมะต้องเป็นฝุ่นขาวจึงสกีได้  แต่นี่หิมะมันเปียก  พอสกีลงมาเจอก้อนน้ำแข็งก็ได้รับบาดเจ็บกัน  เลยไม่ค่อยมีคนขึ้นไป  นอกจากน้ำแข็งบนยอดเขาละลายแล้ว  ที่คีรีมันจาก็ละลายไปแล้ว 80% ในแอฟริกานอกจากนี้ยังมีก้อนน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ  ขั้วโลกใต้อีกที่สำคัญ
  1. น้ำแข็งขั้วโลกละลายมี 4 ก้อนที่สำคัญ ที่เห็นในภาพคือ 2 ก้อน คือ น้ำแข็งที่ sea ice และที่กรีนแลนด์ sea ice นี่ละลายไปเราไม่ห่วงเพราะไม่ได้ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น มันอยู่ในทะเลอยู่แล้ว  แต่ที่วิตกกังวล คือ โดยเฉลี่ยใน summer เหลืออยู่เท่านี้ แต่ summer ที่ผ่านมาเหลือน้อยลง
    น้ำแข็งที่กรีนแลนด์มีปริมาณน้ำอยู่ประมาณ 2.6 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร  ถ้าก้อนนี้ละลายหมดไปก็ประมาณ 6 เมตร ที่น้ำทะเลสูงขึ้นทั่วโลก  ดูว่าก้อนนิดเดียวทำไมมีผลมากเพราะมันสูง 2.8 กิโลเมตร เป็นภูเขาน้ำแข็งล้วนๆ กำลังละลายด้วยอัตราเร่ง  ถ้าละลายหมดทั้งก้อนน้ำทะเลจะสูงขึ้น 6 เมตร  กรุงเทพฯ ก็สูงกว่าระดับน้ำทะเล 85 เซนติเมตร ดูแผนที่โลก เหลือกรีนแลนด์ อลาสก้า ไซบีเรีย ไซบีเรียพอน้ำแข็งละลายฟองอากาศที่อยู่ใต้น้ำแข็งเป็นมีเธน  พอละลายปุ๊บมีเธนก็หลุดขึ้นไป ก็กลายเป็นก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้น  ฉะนั้นน้ำแข็งที่ไซบีเรียมันทับมีเธนจำนวนมากมายไว้  บ้านที่เกิดการทรุดตัว ถนนที่เกิดการแยกไปเพราะฟองอากาศมีเธนมันรั่วออกมาเมื่ออากาศร้อนขึ้น  ส่วนขั้วโลกใต้มีรายงานเข้ามาทุกระยะว่าที่ (Singular) ยอดน้ำแข็งละลายลงมา  ที่อาร์กติกฝั่งตะวันตกก็ละลายลงมา  จากที่ผมไปประชุมที่ยุโรปเขาได้เสนอให้เป็น breakings news ทุกชั่วโมงว่าน้ำแข็งก้อนไหนละลาย  เคลื่อนตัวกี่ไมล์แล้ว  เพื่อบอกให้คนของเขารู้ตัวเอง  แต่เมืองไทยไม่ซื้อมาเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องน้ำแข็งคงไม่เกี่ยวกับเรา แต่ไม่ใช่มันบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกๆ ชั่วโมง  เขาบอกให้คนของเขารู้ตัว เข้าใจและติดตามอย่างใกล้ชิด  ภาพนี้เป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่อีก 2 ก้อนอยู่ที่ขั้วโลกใต้  ขวามือคือแอนตาร์กติกตะวันออก  ซ้ายมือคือแอนตาร์กติกตะวันตก และเชื่อมโยงกันด้วยเทือกเขาแหลมคม  แอนตาร์กติกตะวันออกมีน้ำแข็งอยู่ประมาณ 26 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร  ถ้าก้อนนี้ละลายทั้งหมดน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นประมาณ 65 เมตร  ซีกตะวันตกถ้าละลายหมดน้ำทะเลจะสูงขึ้น 5.5-6 เมตร  ซึ่งตอนนี้ก้อนนี้จะไปก่อนเพราะเป็นน้ำแข็งที่วางอยู่บนท่อนหินที่อยู่ซับกับน้ำทะเล  ขณะที่ขวามือเป็นน้ำแข็งสูง 5 กิโลเมตร  ทับอยู่บนก้อนหินที่อยู่เหนือน้ำทะเล  เพราะฉะนั้นน้ำทะเลจึงเป็นทำอันตรายน้ำแข็งก้อนนี้ได้ลำบาก  ขณะที่ฝั่งตะวันตกน้ำทะเลมันชอนเข้าไปใต้ก้อนหิน  เรากำลังจับตาดูอยู่คือ 2 ก้อนนี้  ถ้าละลายมาเราไม่เหลือแน่นอน  ภาพนี้ชี้ให้เห็นว่าน้ำแข็งขั้วโลกใต้ที่ละลายนั้นเป็นน้ำแข็ง 2,500 ปี น้ำแข็งที่อายุเก่าแก่ไม่ใช่น้ำแข็งที่เกิดขึ้นเมื่อ winter ที่แล้ว  แล้วถึง summer นี้มาละลาย น้ำแข็งที่ละลายลงมาไม่ได้ขาวสะอาดเพราะมี preposition สะสมของพวกฝุ่นละอองต่างๆ จึงเป็นที่มาของการศึกษาอายุของการละลายปี 2007-2008  จัดให้เป็นปี polar studyมีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่ขั้วโลกเหนือโดยใช้หมีขาวเป็นดัชนีชี้วัดชีวภาพ  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นแมวน้ำจะหนีไปอยู่ที่อื่น  พอ summer แมวน้ำอยู่ไม่ได้จึงหนีไปอยู่ที่อื่น  หมีขาวจึงกินแมวน้ำได้น้อยลง  พอถึงฤดูหนาวจึงไม่มีไขมันสะสมจึงตาย  พบหมีขาวตายอยู่ในน้ำเป็นสิบสิบตัว

ซีกตะวันออกของขั้วโลกใต้มีน้ำแข็งอยู่ 26 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร  แล้วถ้าละลายจะประมาณ 65 เมตรสูงขึ้น  ฝั่งตะวันตก 32 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร  ถ้าละลายจะ 8 เมตร  แอนตาร์กติก เพนนีซูลา ตรงปลายแหลมจะสูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร  ส่วนที่กรีนแลนด์น้ำแข็งก้อนใหญ่ก้อนนั้น 2.6 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร จะ 6.5 แมตร  แล้วยังมีบนหิมาลัย  คีรีมันจาโร  ฟูจิ  บนที่ต่างๆ ซึ่งมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ 180,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร  ก็อีก 50 เซนติเมตร รวมแล้วทั้งหมด 80 เมตร  เราไม่อยากให้มันเคลื่อนตัว  แต่ก็พูดลำบากถ้าจำได้เราพูดกันมากว่า 20 ปีแล้วที่ขอให้ใช้ไฟบ้านน้อยลง  ขับรถให้ช้าลง  แม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์อย่างพวกเราเองก็ยังไม่วายที่เอาตู้เย็นไปวางไว้ในห้องปรับอากาศ  ใช้ไฟ 2 ต่อ เพราะตู้เย็นจะคายความร้อนจากหลังตู้เย็น  ในตู้เย็นก็มีถุงก็อบแก๊บเต็มไปหมด  เอาของยัดใส่ถุงก๊อบแก๊บแล้วเอาถุงยัดใส่ไว้ในนั้น  ถุงก็อบแก๊บทำหน้าที่เป็นเยื่อหุ้มป้องกันการกระจายความเย็นจากข้างบนลงไปถึงข้างล่าง  ของข้างล่างก็จะเน่าเสียก่อนหมดอายุซะก่อน  บอกว่าอย่าทานกาแฟก็ไม่เชื่อ  เอากระติกต้มน้ำไว้ในห้องปรับอากาศ  เวลาต้มใช้ 1,400 วัตต์  เครื่องปรับอากาศใช้อีก 1,700 วัตต์  เพื่อเอาความร้อนจากกระติกน้ำร้อนไปทิ้งข้างนอก  ในกาแฟดำ 1 ถ้วย มีคาเฟอีน 149 mg ในยาบ้า 1 เม็ด มีคาเฟอีน 29 mg ในกาแฟ 1 ถ้วยมีคาเฟอีนเท่ากับในยาบ้า 5 เม็ด  เราเปรียบเทียบให้ดูว่ามันมีมากขนาดนั้นภาพนี้คือที่เวนิชซึ่งสร้างกำแพงขึ้นมา4เมตรยังเอาน้ำทะเลที่สูงขึ้นไม่อยู่ ภายในเมืองน้ำสูงขึ้นมา 140 เซนติเมตร  พอน้ำลงแล้วข้างล่างมีโคลนทั้งนั้นเลย  ตะกอนทั้งนั้นเลย  เดินแล้วเหยาะแหยะไม่น่าเดินต้องทำสะพานไม้ให้เดิน เดินบ้านเราก็ได้แบบนี้มีเยอะ  ตอนนี้เวนิชมีจำนวนวันที่โดนน้ำท่วมเพิ่มขึ้นทุกปีๆ ด้วยสาเหตุ 2 อย่างคือ สันทรายที่มันยุบตัวลงไป และน้ำทะเลที่สูงขึ้น

  1. การแพร่ระบาดของโรคร้ายต่างๆ  ที่มากับน้ำ อาหาร ความร้อน โรคอุบัติใหม่ โรคจากสัตว์สู่คน โรคอุบัติซ้ำต่างๆ เดี๋ยวคุณหมอประเสริฐจะพูด แล้วก็เรื่องของยุงก็จะเริ่มเข้าไปปรากฏในที่ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ไปอยู่ในที่ซึ่งเคยหนาว เช่น ตามร้านอาหารที่ดอยสุเทพ  แต่ก่อนนั่งได้  ไม่มียุงเดี๋ยวนี้ยุงขึ้นไปเพราะอุณหภูมิเอื้ออำนวยให้ยุงขึ้นไปดูดเลือด ทั้งยุงก้นปล่อง  ยุงลาย  ยุงกันปล่อง (Anopheline spp.) จะไม่เจริญพันธุ์ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 160C ยุงลาย (Aedesaegypti) จะเจริญพันธุ์ได้ยากในภาวะอากาศต่ำกว่า 100C แสดงว่าฤดูหนาวแต่ละปีจะเป็น earth control ไปในตัวแต่ที่ผ่านมาจำนวนวันใน

    ฤดูหนาวลดน้อยลง  ฤดูร้อนมากขึ้น  ยุงก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว  ประกอบกับแมลงปอ แมลงบางชนิดที่กินลูกน้ำเป็นอาหาร  มันอยู่ไม่ได้ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น  ก็ตายไป  เพราะฉะนั้นลูกน้ำ 100 ตัวก็มีโอกาสเป็นยุงได้ถึง 100 ตัว 

    ฝนที่ตกที่ปริมาณความชื้นเพิ่มมากขึ้นก็จะเปิดโอกาสในการแพร่กระจายเพิ่มปริมาณมากขึ้น ภาวะอากาศที่ชื้นเอื้อต่อการอยู่รวดและขยายพันธุ์ของเห็บ และหมัดที่เป็นพาหะนำโรคหลายชนิด รวมทั้งการเกิดน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากด้วย  หลังจากนั้นก็จะมีน้ำแช่ขัง  เปิดโอกาสให้มีการวางไข่ของยุง  เมื่อเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมทำให้คนต้องไปรวมอยู่ในที่เดี่ยวกัน  หลบภัยพิบัติ  ก็อยู่ร่วมกันกับแมว สุนัข หนู  rabies พวกเห็บ หมัด ที่เกาะอยู่กับกวาง สัตว์อื่นก็เข้าใกล้ชุมชนมากขึ้น เจอวัว ควาย ม้าของชาวเขา หมู สุนัข เปิดโอกาสให้ไวรัสที่อยู่ในเห็บ หมัด เข้าสู่คน เมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม 2550 น้ำท่วม 9 วันในอินเดีย  เด็กกินหนูสดๆ ไม่ได้ปรุงหรือทำให้สุกเลยนอกจากนี้ในเดือนเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ตามดูว่าผลไม้ที่มีรอยแทะระวังอย่าทาน  โดยเฉพาะค้างคาวแม่ไก่ที่กินผลไม้สุกรสหวานเป็นอาหาร  เพราะว่าแม่บ้านจะซื้อมาและผ่าส่วนนั้นออกไปให้คนในบ้านทาน

ถอดจากการบรรยายของ ดร.ธนวันต์ (จิรพล) สินธุนาวา 
นายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม