หยุดโลกร้อนด้วยมือเรา ตอนที่ 2 : มาตรการในการจัดการภาวะโลกร้อน

มาตรการในการจัดการภาวะโลกร้อนจะมีหลักดังนี้

1.การป้องกัน

มาตรการต่อไปที่ต้องออกมา เพราะวิกฤติแล้ว คือ ระงับการขายน้ำมันดิบทั่วโลก คือ ไม่มีการขายระหว่าง international trading เพื่อลด output ที่จะได้ CO2 รวมถึงร้านอาหารจีนต้องปิดตัว จึงจะเอาให้อยู่ก่อนถึง 450 ppm. เพื่อ safe  โลกมนุษย์ไว้ให้ได้ จะต้องออกมาตรการที่รุนแรงกว่าและเชื่อว่าในที่สุดต้องยอม ต้องทำ และเราจะต้องได้รับผลกระทบรุนแรงในขณะนั้น สรุปว่าตอนนี้เราป้องกันไม่ได้แล้ว เช่น ซึนามิ เราป้องกันไม่ได้โชคดีที่เราเคยเจอซึนามิมาครั้งหนึ่งทำให้มีบทเรียน และเรามีความเข้าใจมากขึ้น สิ่งที่เราทำได้ในมาตรการที่ 2 คือ การเตรียมรับ เรารู้ไหมว่าจะเตรียมรับอะไร เดี๋ยวจะทราบครับ ผลกระทบ 10 ประการของภาวะโลกร้อนมีอะไรบ้าง จะได้ทราบว่าจะเตรียมรับอะไรบ้าง

 

2. การเตรียมรับ

ก็คือในเมื่อเตรียมรับไม่ได้แล้ว เราไม่คิดจะหนีไปได้ จะอยู่อย่างนี้ต่อไปแน่นอนก็ต้องมีการปรับตัว เช่นดูทีวีน้อยลงขับรถให้ช้าลง หรือลงจากรถมาเดินมากขึ้นจะช่วยลดได้ การลดพลังงานตรงนี้คงไม่มีผลแต่เป็นการเตรียมความพร้อมของภาวะที่ไม่มีพลังงานให้เราใช้แบบแต่ก่อน

ทีนี้ปัญหา 3 อย่างที่เรากำลังเจออยู่ในขณะนี้ คือ เราจะ stop หรือ reverse มันยังไงภาวะโลกร้อนที่มีก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปชั้นบรรยากาศเยอะขนาดนี้ เราจะหยุดได้ยังไงเราจะหวนกลับไปวันดีๆ เมื่อปี 1970 ได้ไหม คำตอบคือไม่ แต่การจะหยุดได้ยังไงเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มากเป็นเรื่องระหว่างประเทศซึ่งหาข้อยุติได้ยากมาก

 

3.  การปรับตัว

เราจะอยู่กับมันได้ยังไง ในภาวะที่กำลังมีอุณหภูมิสูงขึ้น เราจะอยู่ได้ไหม จะมีซักกี่คนต้องไปแล้วจะไปยังไงอันสุดท้ายคือ เราจะมีวิถีชีวิตยังไง อันนี้คือการปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวะโลกร้อนที่เราต้องอยู่ไปอีกนานออกจากบ้านยังไง โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ ออกจากบ้านยังไง โดยที่กลางวันไม่ต้องเปิดไฟแสงสว่างแต่เราอยู่ได้ ให้แสงสว่างธรรมชาติเข้ามาทางหลังคา ให้เข้าทางชายคายังไงได้มากโดยที่ไม่นำความร้อนเข้ามา จะใส่เสื้อผ้ายังไงที่ไม่ต้องปรับอากาศจะขับรถยังไงหรือจะขี่จักรยานยังไง รถยนต์ที่วิ่งได้ 10 กิโลเมตร/ลิตร ปัจจุบันนี้ล้าสมัยแล้ว ออกมาใหม่ล่าสุดแล้วตอนนี้ 100 กิโลเมตร/ลิตร แต่หาใช้ในเมืองไทยไม่ได้ 60 กิโลเมตร/ลิตร ก็ขายอยู่ในกรุงเทพฯ เยอะแยะไปขึ้นอยู่กับว่าถ้าอยากได้จริงๆ ต้องจองล่วงหน้า 4 เดือนนะครับ

แก๊สเรือนกระจกที่สำคัญมีอะไรบ้าง ?

คราวนี้แก๊สที่สำคัญที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกก็คือ แก๊สที่ 1 คาร์บอนไดออกไซด์ ตัวนี้มีเยอะมากทุกกิจกรรมของการผลิตและการบริโภคนั้นปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศมากๆ ชนิดที่ 2 คือ แก๊สมีเทน มีเทนเกิดจากการมีของเสียออกมา ในปศุสัตว์มีแหล่งที่เพาะมีเทนที่ใหญ่มากๆ จริงๆ

แล้วก็ในชีวิตประจำวันแม่บ้านเป็นแหล่งที่ปล่อยแก๊สมีเทน เพราะว่าเอาอาหารใส่ถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุงแล้วโยนทิ้งไป การที่โยนทิ้งไปเราสร้างเงื่อนไขให้เศษอาหารที่อยู่ถึงพลาสติกนั้นมีการแปรสภาพโดยที่ไม่มีออกซิเจน ตรงนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดมีเทนเยอะมาก นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำไมเรารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้า เพราะไม่อยากให้แม่บ้านเอาถุงพลาสติกเข้าบ้านอีกแล้ว

แต่ยังมีถุงพลาสติกจำนวนหนึ่งใช้เพื่อบรรจุเศษอาหาร เปลือกสับปะรด เปลือกมะละกอ ผูกถุงแล้วโยนทิ้งไป ทำไมต้องผูกถุงก่อนก็เพราะกลัวกลิ่นเหม็นมันจะออกมาก็ผูก ก็จะเป็นแหล่งแก๊สมีเทน แก๊สชีวภาพชนิดหนึ่ง แก๊สชีวภาพเมื่อขึ้นไปชั้นบรรยากาศมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 21 เท่า ถึงแม้ตัวมันเองจะมีอายุแค่ 14 ปี ในชั้นบรรยากาศ แต่ว่ามันทำให้เกิดภาวะโลกร้อน 14 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะมันดูดซับความร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 14 เท่า แก๊สที่ 3 คือ ไนตรัส ออกไซด์ ซึ่งมาจากปศุสัตว์อีกเช่นเดียวกัน แล้วก็มาจากภาคเกษตรที่ใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยไนเตรตจะมีเยอะ คือส่วนที่ไม่ได้ใช้ถูกดูดซับไปเลี้ยงลำต้นหรือไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ก็กลายเป็นไนตรัสออกไซด์ เกิดขึ้นหน้าบริเวณเซเว่น อีเลฟเว่น  ในขณะที่ไปจอดรถหน้าร้านแล้วไม่ดับเครื่อง  ปล่อยให้ใครขึ้นไปคว้าของบนรถหิ้วแล้ววิ่งลงมา  ตรงนั้นเนี่ยแก๊สรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊สที่ไม่ได้ติด Controller จะปล่อยแก๊สไนตรัสออกไซด์ออกมา  และไนตรัสออกไซด์ตัวนี้ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก  มีศักยภาพมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 304 เท่า ฉะนั้นรถที่จอดอยู่หน้าเซเว่นเนี่ยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ารถที่วิ่งผ่านไปเสียอีก  และเกิดขึ้นในบริเวณปั๊มน้ำมันตรงที่เติมน้ำมัน ไม่ได้ดับเครื่องยนต์  ไม่ยอมดับเครื่องยนต์  ผู้ชายก็จะดู CD  ผู้หญิงก็จะเปิดกระเป๋าสตางค์เช็คของเช็คอะไรแต่ไม่ยอมดับเครื่องยนต์

ราจอดรถเติมน้ำมันประมาณ 10 นาที  เสียค่าเติมน้ำมันไป 1,500 บาท แต่รถยนต์ที่ติดเครื่องอยู่กับที่โดยล้อไม่หมุน 5 นาที จะดูดน้ำมันจากถังน้ำมันมา 100 cc.  10 นาที 200 cc.  น้ำมันลิตรละ 30 บาท  ระหว่างที่จอดรถเติมน้ำมันเราเปลืองไปแล้ว 10 บาท  ค่าจอดรถเติมน้ำมันไม่รวมค่าน้ำมัน 1,500 บาท เราเสียหลายต่อมาก  เป็นเพราะว่าไม่อยากดับเครื่อง 

อย่าไปกลัวว่าการสตาร์ทรถใหม่จะเปลืองไม่มีการเปลืองตราบใดที่เครื่องมันร้อนแล้ว  ไม่เปลืองแล้ว  สตาร์ทใหม่ก็อัตราปกตินั่นเอง  อย่าไปกลัว  เพราะฉะนั้นตรงนี้พอไปปั๊มน้ำมันต้องดับเครื่องยนต์  นอกจากจะประหยัดน้ำมันแล้ว  ยังช่วยลดไนตรัสออกไซด์ด้วย  ตัวที่ 4 คือ น้ำ  ซึ่งตัวนี้มีเยอะมากในชั้นบรรยากาศ  น้ำกลายเป็นตัวดูดซับความร้อนที่อันตรายมากเพราะว่ามันเพิ่มปริมาณมากขึ้นนั้นเอง  รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านเข้ามา  ผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามา ผ่านเข้ามาหลังคาตึกทำให้วัสดุเหล่านี้ร้อนมาก มันก็จะพยายามแผ่รังสีความร้อนออกมา  การแผ่รังสีความร้อนออกมาเป็นอินฟราเรด  มันทะลุทะลวงชั้นบรรยากาศได้ดีมากทีเดียว  เอาความร้อนเข้ามาด้วย  อาคารเราก็จะร้อนมาก  การสะสมความร้อนก็จะมีการแผ่รังสีความร้อนออกมา  ขาออกมาเป็นอินฟราเรด  อินฟราเรดไม่ได้ทะลุชั้นบรรยากาศ  พอขึ้นไป 8 กิโลเมตร  เจอไอน้ำในชั้นบรรยากาศมันก็ดูดซับความร้อนนี้เอาไว้  สังเกตดูว่าก่อนฝนจะตกจะรู้สึกอ้าว  เพราะความร้อนในชั้นบรรยากาศนี้เยอะมาก  น้ำดูดความร้อนได้ระดับหนึ่งก็ปล่อยกลับออกมาใหม่  ขณะที่หลังคาบ้านเราก็กลับขึ้นไปอีก  เพราะชั้นบรรยากาศที่สูงถึง 8 กิโลเมตร จะร้อนมาก  พอร้อนมากเป็นไงครับ  ความชื้นที่พื้นดิน 15 ซม. เป็นความชื้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจต่อการผลิตทางการเกษตรมันก็หนีออกจากพื้นดินไป  เพราะความร้อนตัวใหม่เกิดขึ้นจากการเก็บความร้อนนี้  ความชื้นที่หนีขึ้นไป 15 ซม. ตรงนี้  เป็นความชื้นที่เพิ่มมากขึ้น คือคำอธิบายว่าทำไมฝนตกหนักมากขึ้น   คราวนี้น้ำปริมาณเป็น 100 ตันที่ลอยอยู่เหนือศีรษะเรา  พอตกทีจะตกเป็นแท่งลงมานึกถึงเวลาไปตลาดนัดจตุจักรแล้วเค้ามีหลังคายื่นออกมามีน้ำฝนขังอยู่ข้างบน  พอมีอะไรจิ้มปุ๊บจะรั่วลงมารูหนึ่ง  นี่คือปรากฏการณ์ที่ทำไมประเทศไทยถึงเคยเจอฝนตก 500 มิลลิเมตรต่อ 10 ชั่วโมง  ที่สตูลแต่ก่อนแค่ 360 มิลลิเมตร  ฝนตกคืนเดียวเท่ากับฝนตก 10 เดือน  แต่เมื่อ 2 วันนี้เจอที่ลับแล  ฝนตก 10 ชั่วโมง  550  มิลลิเมตรครับ  มันได้เกิด excite  เกิดความรู้สึกรอบๆ นั้น อย่าไปโทษว่าเค้าทำลายป่า  ไม่เกี่ยวกับทำลายป่า  เพราะฝนตกขนาดนี้ภูเขาที่ไหนก็เอาไม่อยู่  นี่คือคำอธิบายว่าทำไมฝนถึงตกหนักเฉพาะที่  แก๊สตัวต่อไป คือ แก๊สโอโซน  เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม  แก๊สตัวนี้อยู่ในชั้นบรรยากาศ  ไม่ถึง 8 กิโลเมตร จะเป็นแก๊สอยู่แต่พอลอยขึ้นไปถึง 45 กิโลเมตร  จากพื้นดินจะเป็นแก๊สที่ป้องกัน UV ไม่ให้ทำให้ใบหน้าเราดำ  อีกตัวหนึ่งก็คือ Sulfur  hexafluoride  ตัวนี้จะเจอมากในแผง  breaker ในโรงงานอุตสาหกรรม  ส่วนมากโรงงานอิเล็กทรอนิกส์จะใช้เยอะมาก  รวมทั้งในหม้อแปลงด้วย  หม้อแปลงที่อยู่ใกล้ๆ บ้านเราจะมี Sulfur  hexafluoride ซึ่งเป็น carcinogen ด้วย  และอยู่ใกล้กับเรามาก  ตัวนี้มีอานุภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง  22,000 เท่า ตัวอื่นที่สำคัญอีกตัวหนึ่งก็คือ CFC  ซึ่งเราทุกคนมีโอกาสปล่อย CFC ในขณะที่มีการใช้สเปรย์ด้วยสุภาพสตรีกับการปิดตู้เย็นโดยที่ไม่ได้ใช้มือปิด  ดังนั้นกลับไปถนอมตู้เย็น เช่น การหยิบของจากตู้เย็นออกมาเต็มมือ  พอถามว่าปิดตู้เย็นยังไง  บอก เออน่ะ  ปิดแล้วก็แล้วกัน  ใช้บั้นท้าย หัวไหล่ ลูกแปปิด  แรงกระแทกที่ไม่เท่ากันนี้ทำให้รอยต่อรอยเชื่อมของท่อน้ำยาแอร์มันจะแตก  แล้วก็ร้าว  และ CFC นี้ก็จะอยู่ในรถยนต์  อยู่ในคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ในกระโปรงรถข้างหน้า  เวลาล้อเรากระโดดข้ามลูกระนาดโดยไม่ได้ชะลอความเร็วจะเกิดการยกตัวที่ไม่เท่ากันระหว่างช่วงหน้ากับห้องผู้โดยสาร  ซึ่งมีการเชื่อมต่อกันด้วยท่อทองแดงขนาด 2 มิลลิเมตร 2 ท่อเอง  ท่อเอาน้ำยาแอร์เข้ามากับท่อเอาน้ำยาแอร์กลับไปที่คอมเพรสเซอร์ตรงปลายท่อบัดกรีไว้  พอยกตัวไม่เท่ากันรอยแตก ก็เกิดขึ้น พอเปิดแอร์ติดเครื่องแล้วไม่เย็นก็วิ่งไปเติมน้ำยาแอร์ 450 บาท  เราไม่เคยอุดรูรั่วเลย

เรามีรถที่เติมน้ำยาแอร์โดยที่ไม่อุดรูรั่ว ประมาณ 3-6 ล้านคันในประเทศไทย  รถยนต์พวกนี้เป็นแหล่งปล่อย CFC เคลื่อนที่เพราะว่าเติมแต่น้ำยาแอร์ รูรั่วไม่เคยอุด ที่ถูกแล้วต้องทิ้งรถไว้ 1 วัน ให้อู่ที่เติมน้ำยาแอร์ใช้ไฟไล่ดูว่ามี CFC รั่วมาทางไหนบ้าง  เพราะที่รูรั่วจะมีเปลวไฟน้ำเงินพุ่งออกมาเลย 

ตรงนั้นเนี่ยต้องบัดกรี  ต้องอ็อก ต้องเชื่อม ต้องตัดออกไปซะก่อน  แล้วเติมน้ำยาแอร์เข้าไปใหม่แล้วจึงปล่อยรถออกไปได้ ก็ประมาณพันกว่าบาท  แต่ส่วนใหญ่เราเสียแค่ 450 บาทแล้วก็ไป  แค่นี้ก็หมดเรื่อง เพราะฉะนั้นขับรถผ่านลูกระนาดต้องช้าลง  ขับรถข้ามสะพานในขณะที่คอสะพานมันทรุดต้องช้าลง  เพราะแรงกระแทกดังกล่าว  จะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซ CFC ขึ้นชั้นบรรยากาศขับรถขณะที่โทรศัพท์ต้องระวังไปชนท้ายคนอื่น  เป็นเหตุให้คุณตำรวจต้องมาพ่นสเปรย์สีขาวๆ ปล่อย CFC ขึ้นไปอีก  ก็มีเหตุหลายอย่างที่ปล่อย CFC ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศเราทำทุกค่ำเช้า   อันนี้คือชั้นบรรยากาศที่เรากล่าวถึงเมื่อกี้  หมายเลข 1  คือรังสีความร้อนที่เข้ามาเป็น UV พอผ่านทะลุชั้นบรรยากาศเข้ามาได้  บางส่วนก็สะท้อนออกไป ในกรณีที่มีเมฆมีชั้นบรรยากาศสะท้อนกลับไป 30%  70% ทะลุเข้ามาทำให้พื้นดินร้อนขึ้น  ทำให้บ้านเราร้อนขึ้น  และสะท้อนความร้อนกลับขึ้นมาใหม่  ส่วนหนึ่งก็ไม่เกิน 15%  ที่จะหลุดออกจากชั้นบรรยากาศนี้ได้  เพราะว่า 85% จะถูกดูดซับไว้ด้วยก๊าซเรือนกระจกที่กล่าวมาเมื่อสักครู่นี้  แล้วก็คายความร้อนกลับมาใหม่ที่ผิวโลก เป็นหมายเลข 5  ความร้อนที่กลับมาใหม่นี้เป็นตัวการทำให้เกิด evaporation ขึ้นมา  ความชื้นที่อยู่ที่ผิวดิน 15 เซนติเมตร  ที่เป็นความชั้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจมาก  ขึ้นไปรออยู่ข้างบนเป็นต้นเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน

มีวีดีทัศน์ส่วนสั้นๆ ของสหประชาชาติ มีหลายอัน  เราเสียใจว่าสื่อมวลชนบ้านเราไม่เอามาออกเลยขณะที่เป็นสื่อที่ฟรีที่ทำเผยแพร่ไปทั่วโลก  แต่บ้านเราไม่สนใจ  อีกอันที่กำลังกังวลอยู่ในขณะนี้คือ  sea ice อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ sea ice  ที่ขั้วโลกเหนือมันหดตัวลงทุกปี ในปี 2007 ที่ผ่านมา  หดตัวเหลือจนน่าวิตก  ในปี 2005 มันหดมากที่สุดอยู่แล้ว  ในปี 2007 มันหดตัวมากกว่านั้นอีก  เหลือน้อยกว่าปี 2005 อีก 23%  ส่วนที่หายไปเพิ่มขึ้นนี้มีขนาดเท่าประเทศอังกฤษ 4 เท่า  และส่วนที่หายไปนั้น sea ice ที่หายไปเค้าเชื่อว่าในที่สุดแล้วน้ำแข็งตรงนี้จะหมดไป  ละลายหมดไปภายใน 5-7 ปีข้างหน้า  sea ice ก้อนนี้ที่เราเพิ่งเอาธงชาติไปปักเมื่อ 2 วันนี้ ถ้าละลายหมดจะเกิดอะไรขึ้น  สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือจะทำให้กระแสน้ำอุ่นที่ไหลเวียนจากประเทศต่างๆ ที่มาจากแปซิฟิกเอาความร้อนไป  กระแสน้ำอุ่นก็ไปคายความร้อนที่ขั้วโลกเหนือแล้วตัวเองก็จมดิ่งลงไป 6 กิโลเมตร เอาความเค็มและความเย็นกลับมาที่มหาสมุทรแปซิฟิกใหม่  ตรงนี้เป็น circulation ของ heat เป็น heat engine ที่ทำงานมาเป็นหมื่นๆ ปี  แล้วนักวิทยาศาสตร์ก็เจอปัญหาว่ามัน slow down  มา  30%  ถ้าน้ำแข็งขั้วโลกหายไปหมด  เชื่อว่าตรงนี้จะหยุด  ถ้าหยุดจะทำให้เกิดการแปรปรวนของอากาศ  ภูมิอากาศ  ฤดูกาลจะแปรเปลี่ยน  ดูได้จากภาพยนตร์เรื่อง The Day After Tomorrow  หน้าหนาวจะหนาวเย็นปกคลุมอย่างรวดเร็ว  เพราะทุกวันนี้อังกฤษไม่หนาว มีหิมะตกเป็นก้อนเป็นเพราะกระแสน้ำอุ่นนี้  ถ้าไม่มีกระแสน้ำอุ่นจากแปซิฟิกเข้ามา  ความหนาวเย็นจะปกคลุมประมาณ 6 สัปดาห์  ความเย็นที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้หนาวเย็นมากที่สุด  ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์อันนั้นเป็นตัวที่จำลอง  มีการประชุมที่เยอรมัน  นักวิทยาศาสตร์มาคุยเพื่อ producer ผลิตภาพยนตร์ออกมาแล้วขายดีเพราะมีเครดิตดี  ผู้ร้ายคืออากาศ  เปรียบเทียบกับ AIT Anti  Inconvenience Truth วันนั้นที่เข้าไปดูมีคนดู 24 คน ทั้งโรงหนัง เป็นฝรั่ง 21 คน อีก 3 คน เป็นภรรยาฝรั่งที่ดูอยู่  แล้วผมเป็นคนที่ 25 คนไทยไม่ดูเพราะไม่มีพระเอก นางเอกเลย  ในเรื่อง The Day After Tomorrow  คาดการณ์ออกมาว่าพายุหิมะและก้อนน้ำแข็งจะตกในเดลี  น้ำทะเลจะไหลเข้ามาในนิวยอร์กอย่างรวดเร็ว  เกิดพายุหมุน  เป็นการสร้างภาพจำลองที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงในอนาคต

 

ที่นี้ปรากฏการณ์ภัยพิบัติทั่วโลกในขณะนี้มีการเฝ้าระวังตอนนี้กำลังเกิดขึ้น ในปี 1992-1998 มีพิบัติภัยในเรื่องของหิมะถล่ม  ดินถล่ม  ฝนตกหนัก  น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า มันเกิดขึ้น เฉลี่ยแล้วปีละ 400 ครั้ง ปี 1999-2003  พิบัติภัยต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นเป็นปีละ 700 ครั้ง บางครั้งหิมะถล่มกับภัยแล้งห่างกันไม่ถึง 400 ไมล์ ในวันเดียวกัน  ฉะนั้นในภาวะที่เรียกว่า weather extreme  มันเกิดขึ้นแล้วในขณะนี้และในวันเดียวกันและมีความถี่มากขึ้น  หลังจากนั้นตั้งแต่ปี 2003-2004 เป็นต้นมา ยังไม่มีใครสรุป IPCC กับอัลกอร์  ออกมาพูดกันมากในระยะนี้  ตามที่นักวิจัยได้ติดตามค้นคว้าออกมาพบว่าที่ IPCC และอัลกอร์พูดกันมาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของข้อเท็จจริงทั้งหมด  ก็คือเสียเวลาไปกับเรื่องอัลกอร์มากทีเดียวในหนังที่มาฉายนั้น 40% เป็นการโกหกตัวเองในสมัยที่อยู่ไสยาสูบที่เราเติบโตขึ้นมา  เพื่อจะนำเค้าไปสู่การเลือกตั้งสมัยหน้า 60% พูดถึงเนื้อหา  นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ออกมาให้ความเห็นว่า too little, too late นะครับ

แล้วก็บอกว่าเรื่องของภาวะโลกร้อนเราหยุดมันไม่ได้  แต่ที่อาจจะทำได้คือ limit มัน คือ limit ตัวมันเองแล้วก็เพื่อเพิ่ม capacity ของตัวเองให้สามารถยืนกับภาวะ weather extreme ให้ได้

หยุดโลกร้อนด้วยมือเรา 02-2

ภาพจาก http://www.hardrainproject.com/contact_us

นี่คือภาพล่าสุดปี 2007  ซึ่งน้ำท่วม 3-4 วัน ในเยอรมัน เป็นภาพที่ปรากฏในสื่อทั่วโลกถ้าเราแต่ละคนออกมารับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้ทำเราก็ได้เสียอะไร ได้มากกว่าด้วยอย่างน้อยในภาพรวมก็น่าจะได้  ดังนั้นแก๊สเรือนกระจกที่สำคัญที่สุด ก็คือที่เราพูดไปเมื่อกี้ 380 ppm ดีกว่า 384 ไหม  จากปล่อย 2-3 นั้นเป็นข้อมูลเมื่ออดีตตอนนี้ 2-6 แล้ว  สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือระยะเวลาอันสั้น  ถ้าถามรัฐบาลอังกฤษ  รัฐบาลอังกฤษบอกว่า  ถ้าคิดว่าภาวะโลกร้อนจะเกิดขึ้นในกี่ปี  เค้าตอบว่า 7 ปี ถ้าถามยุโรปบอก 10 ปี ถ้าถามคนอเมริกันบอก 100 ปี อยู่ที่ความเชื่อมีการซ้อมอพยพคนที่ลอนดอนเช่นใน 3 ชั่วโมง อพยพได้กี่เปอร์เซ็นต์เมื่อ 11 มกราคม 51 มีความแปรปรวนของอากาศ มีหิมะตกในอิรัก

ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน  มีการพยากรณ์ว่าหิมะจะตกที่ภาคอีสาน  มีความเป็นไปได้เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลายหมด ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นภายในปีนี้แน่นอน

ถอดจากการบรรยายของ ดร.ธนวันต์ (จิรพล) สินธุนาวา 
นายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม